วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อรรถกถาเรื่องของพระนางสุมนาราชกุมารี

อยากให้อ่านเรื่องนี้กันอย่างละเอียด จะได้รู้ว่า สาเหตุที่พระพุทธองค์ตรัส สุมนสูตร คืออะไร และรู้ว่า ผู้ที่ให้ทาน กับผู้ไม่ให้ทานในพระสูตรนี้ คือใคร
พระนางสุมนาราชกุมารี ทำบุญอะไรไว้ จึงมีรถ ๕๐๐ คัน เป็นพาหนะ และมีนางกุมารี ๕๐๐ คน เป็นบริวาร และเพราะเหตุไร พระนางจึงเสด็จไปทูลถามพระพุทธองค์ 

อ่านรายละเอียดของเรื่องตามที่ปรากฏข้างล่างนี้ ครับ  ส่วนคำแก้ศัพท์ต่างๆ ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่ต้องใส่ใจ ครับ

. สุมนวรรค
หมวดว่าด้วยสุมนาราชกุมารี
. สุมนสุตตวัณณนา
พรรณนาหมวดว่าด้วยสุมนาราชกุมารี

          [๓๑] ในสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- คำว่า สุมนาราชกุมารี (สุมนาราชกุมารี) ได้แก่ เจ้าหญิงผู้ได้พระนามอย่างนั้น เพราะทรงทำมหาสักการะแล้วทรงตั้งความปรารถนาไว้ ความพิสดารว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เมื่อชาวพระนครคิดกันว่า พวกเราทำการรบเสร็จแล้วจักยึดพระศาสดาไว้แล้วอาศัยเสนาบดี ได้พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วเริ่มทำบุญโดยลำดับ ในวันแรกกว่าเขาทั้งหมด เสนาบดีได้วาระแล้ว ในวันนั้น เสนาบดีจัดแจงมหาทานแล้วตั้งพวกบุรุษไว้โดยรอบสั่งว่า วันนี้ พวกเจ้าจงรักษาการณ์ไว้โดยประการที่ใคร ๆ อื่นจะถวายแม้ภิกษาอย่างหนึ่งไม่ได้”        วันนั้น ภรรยาเศรษฐีร้องไห้พูดกับธิดาผู้เล่นกับนางกุมาริกา ๕๐๐ คนผู้กลับมาแล้วว่า ลูกเอ๋ย หากบิดาของลูกยังมีชีวิตอยู่ วันนี้ แม่ต้องนิมนต์พระทศพลให้เสวยเป็นคนแรกลูกสาวพูดกับมารดาว่า แม่จ๋า แม่อย่าคิดไปเลย ลูกจักทำโดยวิธีที่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จักฉันอาหารของพวกเราเป็นอันดับแรก ต่อจากนั้น ธิดานั้นจึงบรรจุข้าวปายาสไม่มีน้ำในถาดทองคำมีมูลค่า ๑๐๐,๐๐๐ จนเต็ม แล้วปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดเป็นต้น ใช้ถาดอีกใบหนึ่งครอบแล้วล้อมภาชนะนั้นด้วยพวงดอกมะลิทั้งหลาย ทำให้คล้ายกับพวงดอกไม้ ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังบ้าน นางยกเองทีเดียวมีหมู่นางทาสีแวดล้อมออกจากเรือนไป
          ในระหว่างหนทาง พวกคนรับใช้ของเสนาบดีพูดว่า แม่หนู อย่ามาทางนี้ธรรมดาเหล่าผู้มีบุญมากย่อมมีถ้อยคำจับใจคนและถ้อยคำของพวกคนรับใช้เหล่านั้นผู้พูดอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่อาจห้ามไว้ได้ นางกล่าวว่า ท่านอา ท่านลุง ท่านน้า ทำไมพวกท่าน ไม่ให้ไปเล่าพวกคนรับใช้กล่าวว่า แม่หนู ท่านเสนาบดีตั้งพวกเรารักษาการณ์ด้วยสั่งว่า พวกเจ้าจงอย่าให้ใครๆ อื่นถวายของควรเคี้ยวของควรบริโภคได้
          นางถามว่า ก็พวกท่านเห็นของควรเคี้ยวของควรบริโภคในมือของฉันหรือ
          พวกคนรับใช้กล่าวว่า พวกเราเห็นแต่พวงดอกไม้
          นางถามว่า ท่านเสนาบดีของพวกท่านไม่ให้ทำแม้การบูชาด้วยพวงดอกไม้หรือ
          พวกคนรับใช้กล่าวว่า ให้ซิ แม่หนู
          นางกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ขอพวกท่านจงหลีกไปเถิดดังนี้แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงรับพวงดอกไม้ด้วยเถิดพระผู้มีพระภาคทรงแลดูคนรับใช้ของเสนาบดีคนหนึ่งแล้วให้รับพวงดอกไม้ไว้ นางถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ทำความปรารถนาว่า เมื่อหม่อมฉันเกิดในภพน้อยภพใหญ่ ชื่อว่าชีวิตที่หวาดสะดุ้ง ขออย่าได้มี ในที่ที่หม่อมฉันบังเกิดแล้ว ๆ ขอให้หม่อมฉันเป็นที่รัก ดุจพวงดอกมะลินี้ และขอให้หม่อมฉันมีชื่อว่าสุมนาเถิดนางผู้อันพระศาสดาตรัสว่า เจ้าจงมีความสุขเถิดถวายอภิวาททำประทักษิณแล้วหลีกไป
          แม้พระผู้มีพระภาคก็เสด็จไปยังเรือนของเสนาบดีและประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว เสนาบดีถือข้าวยาคูเข้าไปถวาย พระศาสดาทรงใช้พระหัตถ์ปิดบาตรไว้ เสนาบดีกราบทูลว่า ภิกษุสงฆ์นั่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้าพระศาสดาตรัสว่า บิณฑบาตที่เราได้ในระหว่างหนทางมีอยู่เสนาบดีนำพวงดอกไม้ออกไปแล้ว ได้เห็นบิณฑบาต คนรับใช้ใกล้ชิดกล่าวว่า นายขอรับ มาตุคามพูดลวงกระผมว่า เป็นพวงดอกไม้ข้าวปายาสเพียงพอแก่ภิกษุทั้งหมดนับแต่พระผู้มีพระภาคเป็นต้นไป เสนาบดีได้ถวายไทยธรรมของตน พระศาสดาทรงทำภัตตกิจตรัสมงคลแล้วเสด็จหลีกไป        เสนาบดี ถามว่า หญิงคนไหนถวายบิณฑบาต
          คนรับใช้กล่าวว่า ธิดาเศรษฐี ขอรับนายท่าน
          เสนาบดีคิดว่า ธิดาเศรษฐีเป็นหญิงมีปัญญา เมื่อหญิงเห็นปานนี้อยู่ในเรือน ชื่อว่าสวรรค์สมบัติไม่ใช่บุรุษจะหาได้ยากเลยจึงนำธิดาเศรษฐีนั้นมาแล้วแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งหัวหน้า
แม้ธิดาเศรษฐีนั้นก็รับทรัพย์ทั้งในเรือนของมารดาและในเรือนของเสนาบดี ถวายทานแด่พระตถาคตแล้วทำบุญทั้งหลายตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในเทวโลกชั้นกามาวจร ในขณะที่นางบังเกิดนั่นเอง ฝนดอกมะลิตกเต็มเทวโลกทั้งสิ้นโดยเป็นแถวประมาณเข่า เทวดาทั้งหลายว่า “เทพธิดานี้ถือเอาชื่อของตนมาแล้วด้วยตนเองทีเดียวจึงตั้งชื่อเทพธิดานั้นว่า สุมนาเทพธิดาเทพธิดานั้นท่องเที่ยวอยู่ในหมู่เทพและในหมู่มนุษย์ตลอด ๘๙ กัป ในที่ที่นางบังเกิดแล้ว ๆ มีฝนดอกมะลิตกไม่ขาด จึงได้มีชื่อว่า สุมนา สุมนาอย่างเดิม ก็ในครั้งนี้ นางถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าโกศล ในวันนั้นนั่นเอง นางกุมาริกา ๕๐๐ คนแม้นั้น ถือปฏิสนธิในตระกูลนั้นๆ แล้วคลอดจากครรภ์มารดาในวันเดียวกันทั้งหมด ขณะนั้นนั่นเอง ฝนดอกมะลิก็ตกโดยเป็นแถวประมาณเข่า พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระราชธิดานั้นแล้วทรงปลื้มพระทัยว่า ราชธิดานี้จักเป็นผู้สร้างบุญกุศลไว้ในกาลก่อนทรงดำริว่า ธิดาของเราถือเอาชื่อของตนมาแล้วด้วยตนเองทีเดียวจึงทรงพระราชทานพระนามราชธิดานั้นว่า สุมนาแล้วทรงให้ค้นหาทั่วพระนครด้วยทรงพระดำริว่า ธิดาของเราจักไม่บังเกิดเพียงผู้เดียวแน่ทรงสดับว่า มีนางทาริกา ๕๐๐ คนเกิดแล้วจึงโปรดเกล้าให้เลี้ยงดูทั้งหมด ด้วยพระองค์เอง เมื่อถึงแต่ละเดือน ๆ จะรับสั่งว่า พวกเจ้าจงนำมาแสดงแก่ธิดาของเรา”          พึงทราบว่า พระธิดานี้ได้พระนามอย่างนี้เพราะได้ทำมหาสักการะแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ ด้วยประการฉะนี้
          ในเวลาที่พระราชธิดานั้นมีพระชนม์ได้ ๗ พระชันษา เมื่ออนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวิหารแล้วส่งทูตไปกราบทูลพระตถาคต พระศาสดาทรงมีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร ได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ไปกราบทูลพระราชาอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชเจ้า การเสด็จมา ณ ที่นี้ของพระศาสดาเป็นมงคลทั้งแก่ข้าพระองค์ เป็นมงคลทั้งแก่พระองค์ทีเดียว ขอพระองค์ทรงโปรดเกล้าให้สุมนาราชกุมารีพร้อมด้วยนางทาริกาทั้ง ๕๐๐ คน ถือหม้อน้ำเต็มและเครื่องหอมและพวงดอกไม้เป็นต้น ส่งไปรับเสด็จพระทศพลเถิดพระราชาตรัสว่า ดีละ ท่านมหาเศรษฐีแล้วทรงทำอย่างนั้น แม้พระธิดานั้นก็เสด็จไปแล้ว ตามนัยที่พระราชารับสั่งทีเดียว ทรงอภิวาทพระศาสดาแล้ว บูชาด้วยเครื่องหอมและพวงดอกไม้ เป็นต้น แล้วได้ประทับยืน ณ ที่สมควร พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระธิดานั้น พระธิดานั้นพร้อมด้วยนางกุมาริกาทั้ง ๕๐๐ คน ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว นางทาริกา ๕๐๐ คน มาตุคาม ๕๐๐ คน และอุบาสก ๕๐๐ คน แม้เหล่าอื่นก็บรรลุโสดาปัตติผลในขณะนั้นเหมือนกัน ในวันนั้น มีพระโสดาบัน ๒,๐๐๐ องค์ ในระหว่างหนทางนั่นเอง ด้วยอาการอย่างนี้
คำว่า เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ (เยน ภควา เตนุปสงกมิ) มีอธิบายว่า ถามว่า เพราะเหตุไร จึงเข้าไปเฝ้า ตอบว่า เพราะประสงค์จะทูลถามปัญหา ได้ทราบว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ได้มีภิกษุ ๒ รูป เป็นสหายกัน บรรดาภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่ง บำเพ็ญสาราณียธรรม รูปหนึ่งบำเพ็ญภัตตัคควัตร รูปที่บำเพ็ญสาราณียธรรม กล่าวกับรูปที่บำเพ็ญภัตตัคควัตรนอกนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุ ชื่อว่าทานที่ไม่ให้ผลย่อมไม่มี การให้ของที่ตนได้แก่คนเหล่าอื่น แล้วบริโภคจึงจะควรแต่รูปที่บำเพ็ญภัตตัคควัตรนอกนี้กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านไม่รู้หรือว่า ชื่อว่าการยังไทยธรรมให้ตกไป ย่อมไม่ควร การที่ผู้ถือเอาเพียงอาหารยังอัตภาพของตนให้เป็นไปบำเพ็ญวัตรในโรงครัว จึงจะควร บรรดาภิกษุทั้ง ๒ รูปนั้น แม้รูปหนึ่งก็ไม่อาจให้อีกรูปหนึ่งยอมรับในโอวาทของตนได้ ภิกษุแม้ทั้ง ๒ รูปครั้นบำเพ็ญข้อปฏิบัติของตนแล้ว จุติจากอัตภาพนั้นได้บังเกิดแล้วในเทวโลกชั้นกามาวจร บรรดาภิกษุทั้ง ๒ รูปนั้น รูปที่บำเพ็ญสาราณียธรรมล้ำรูปที่บำเพ็ญภัตตัคควัตรด้วยธรรม ๕ ประการ
          ท่านทั้ง ๒ นั้น ท่องเที่ยวอยู่ในหมู่เทวดาและในหมู่มนุษย์ให้พุทธันดรหนึ่งสิ้นไปแล้วอย่างนี้ ได้บังเกิดแล้วในกรุงสาวัตถีในเวลานี้ รูปที่บำเพ็ญสาราณียธรรมได้ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าโกศล รูปที่บำเพ็ญภัตตัคควัตรนอกนี้ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของหญิงรับใช้ของพระมเหสีนั้นนั่นเอง คนแม้ทั้ง ๒ นั้น เกิดแล้วโดยวันเดียวกันทีเดียว ในวันตั้งชื่อ มารดาแม้ของเด็กทั้ง ๒ ให้อาบน้ำแล้วให้นอนในห้องอันมีสิริ ได้จัดแจงเครื่องสักการะไว้ภายนอก บรรดาคนทั้ง ๒ นั้น คนที่บำเพ็ญสาราณียธรรมลืมตาแล้วก็เห็นเศวตฉัตรใหญ่ ที่นอนอันมีสิริที่ปูลาดไว้แล้วและนิเวศน์ที่ประดับตกแต่งแล้ว ได้รู้แล้วว่า เราได้บังเกิดแล้วในราชตระกูลแห่งหนึ่งเขารำพึงอยู่ว่า สหายของเราได้บังเกิดแล้วที่ไหนหนอแลเห็นสหายนอนอยู่บนที่นอนต่ำกว่า จึงคิดว่า สหายนี้ไม่เชื่อถือคำของเรา ด้วยคิดว่า เรานี้จะบำเพ็ญภัตตัคควัตรบัดนี้ เราสมควรจะข่มเขาในที่นี้จึงพูดว่า สหาย ท่านไม่ทำตามคำของเราเลย
สหายนอกนี้กล่าวว่า “เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเกิดอะไรล่ะ
คนผู้บำเพ็ญสาราณียธรรมกล่าวว่า “ท่านจงดูสมบัติของเราซิ เรานอนอยู่บนที่นอนอันมีสิริภายใต้เศวตรฉัตร (แต่) ท่านนอนอยู่บนเตียงที่ต่ำ ข้างบนลาดด้วยของแข็ง
สหายนอกนี้กล่าวว่า “ก็ท่านอาศัยเหตุนี้ทำมานะหรือ สิ่งของนั้นทั้งหมดเขาทำด้วยซี่ไม้ไผ่ใช้ผ้าท่อนเก่าพันเอาไว้ เป็นเพียงปฐวีธาตุเท่านั้น
          พระราชธิดาสุมนาได้สดับถ้อยคำของเด็กทั้ง ๒ นั้นแล้วทรงคิดว่า ในที่ใกล้น้องชายทั้ง ๒ ของเรา ก็ไม่มีใคร ๆทรงเดินไปใกล้เด็กทั้ง ๒ นั้น ประทับยืนพิงประตูได้สดับ คำว่า ธาตุแล้วทรงคิดว่า คำว่า ธาตุนี้ ไม่มีในภายนอก น้องชายทั้ง ๒ ของเราจักเป็นสมณเทพบุตรกระมังทรงคิดว่า หากเราจักบอกมารดาบิดาว่า เด็ก ๒ คนนี้พูดอย่างนี้พวกท่านจักให้นำออกไปด้วยเข้าใจว่า เด็กเหล่านี้เป็นอมนุษย์เราจักไม่บอกเหตุนี้แก่ผู้อื่น จักทูลถามเฉพาะพระทศพลผู้ทรงเป็นมหาโคตมพุทธบิดาของเรา ผู้เป็นเหรัญญิกบุรุษตัดความสงสัยได้เท่านั้น เสวยพระกระยาหารเช้าแล้วเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า หม่อมฉันจักไปยังที่บำรุงพระทศพล”    พระราชารับสั่งให้เทียมรถ ๕๐๐ คัน แท้จริง ในพื้นชมพูทวีป กุมารี ๓ คนเท่านั้นได้รถ ๕๐๐ คัน ในสำนักของบิดาทั้งหลาย คือ () เจ้าหญิงจุนทีพระธิดาของพระเจ้าพิมพิสาร () นางวิสาขาธิดาของธนัญชัยเศรษฐี () เจ้าหญิงสุมนานี้ พระธิดานั้นทรงถือเครื่องหอมและพวงดอกไม้ประทับยืนบนรถ มีรถทั้ง ๕๐๐ คันเป็นบริวาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ด้วยพระดำริว่า เราจักทูลถามปัญหานี้
คำว่า พึงมีในที่นี้ (อิธสฺสุ)  ได้แก่ พึงมีในที่นี้ คำว่า คนหนึ่งเป็นทายก (เอโก ทายโก) ความว่า คนหนึ่งให้สิ่งของแก่ผู้อื่นจากลาภที่ตนได้แล้ว บริโภคเอง ชื่อว่าเป็นผู้บำเพ็ญสารณียธรรม คำว่า คนหนึ่งไม่ใช่ทายก (เอโก อทายโก) ความว่า คนหนึ่งไม่ให้สิ่งที่ตนได้แล้วแก่ผู้อื่น บริโภคเอง ชื่อว่าเป็นผู้บำเพ็ญภัตตัคควัตร คำว่า ท่านทั้ง ๒ ผู้เป็นเทวดานั้น (เทวภูตานํ ปน เนสํ) ได้แก่ คนทั้ง ๒ นั้น ก็เป็นเทวดา คำว่า ย่อมข่ม (อธิคณฺหาติ) ได้แก่ ข่มแล้ว ยึดไว้ คือ ครอบงำ ได้แก่ ให้อยู่ในอำนาจ คำว่า ด้วยอธิปไตย (อธิปเตยฺเยน) ได้แก่ ด้วยเหตุที่เป็นหัวหน้า คำว่า ด้วยฐานะ ๕ ประการนี้ (อิเมหิ ปญฺจหิ ฐาเนหิ) ได้แก่ ย่อมข่มด้วยเหตุ ๕ ประการนี้ เหมือนท้าวสักกะจอมเทพข่มเทพที่เหลือ ในคำเป็นต้นว่า ที่เป็นของมนุษย์ (มานุสเกน) พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- เป็นหัวหน้าผู้ยิ่งกว่าด้วยเหตุ ๕ ประการนี้ คือ ด้วยอายุ เหมือนพระมหากัสสปเถระ พระพักกุลเถระ และพระอานนทเถระ ด้วยวรรณะ เหมือนพระมหาคติอัมพอภัยเถระและอำมาตย์ผู้เป็นขุนคลัง ด้วยสุข เหมือนรัฐปาลกุลบุตร โสณเศรษฐีบุตร และยสทารก ด้วยยศเหมือนพระเจ้าธรรมาโศกราช ด้วยอธิปไตยก็อย่างนั้นคือเหมือนพระเจ้าธรรมาโศกราช
คำว่า เมื่อเขาขอร้อง [จึงใช้จีวร] มาก (ยาจิโตว พหุลํ) ความว่า เป็นหัวหน้าผู้ยิ่งกว่าด้วยเหตุเหล่านี้ คือ บรรพชิตผู้ถูกขอร้องแล้วเท่านั้น จึงใช้สอยจีวรเป็นต้นมาก เหมือนพระพักกุลเถระ พระสีวลีเถระ และพระอานนทเถระ เป็นต้น คำว่า  ในระหว่างวิมุตติกับวิมุตติ (ยทิทํ วิมุตฺติยา วิมุตฺตํ) ความว่า การปรารภวิมุตติของบุคคลนอกนี้กับวิมุตติของอีกคนหนึ่ง แล้วทำให้ต่างกันอันใด เป็นสิ่งที่ควรกล่าวถึง  แต่ เราไม่กล่าวถึงการทำให้ต่างกันนั้น แท้จริง เด็กผู้มีอายุ ๗ ขวบก็ดี พระเถระมีพรรษาตั้ง ๑๐๐ ก็ดี ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มาร หรือพรหม ก็ดี แทงตลอดวิมุตติได้ ชื่อว่าความแตกต่างกันในโลกุตตรมรรคที่ใครๆ  แทงตลอดได้แล้ว ย่อมไม่มี คำว่า ควร (อลเมว) ได้แก่ สมควรแล้วทีเดียว คำว่า เพราะ (ยตฺร หิ นาม) เท่ากับ ชื่อเหล่าใด
คำว่า โคจรไปในอากาสธาตุ (คจฺฉํ อากาสธาตุยา) ได้แก่ โคจรไปทางอากาศ คำว่า มีศรัทธา (สทฺโธ) ได้แก่ ผู้เชื่อคุณของพระรัตนตรัย คำว่า ลอยไป (ถนยํ) ได้แก่ กำลังเคลื่อนไป คำว่า มีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ (วิชฺชุมาลี) ได้แก่ ประกอบด้วยสายฟ้าที่แลบอยู่หน้าเมฆเช่นเดียวกับพวงดอกไม้ คำว่า มียอดตั้ง ๑๐๐ (สตกฺกถุ) ได้แก่ มียอด ๑๐๐ ยอด อธิบายว่า ประกอบด้วยยอดเมฆตั้ง ๑๐๐ ที่ตั้งขึ้นด้านโน้นและด้านนี้ คำว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ (ทสฺสนสมฺปนฺโน) ได้แก่ เป็นพระโสดาบัน คำว่า และโภคะ (โภคปริพฺยูโฬห) ได้แก่ เพิ่มพูนด้วยโภคะทั้งหลายที่เขาถวายด้วยอำนาจเป็นทาน ดุจเต็มห้วงน้ำ อธิบายว่า ให้เพียบพร้อมในเทวโลก คำว่า ตายไปแล้ว (เปจฺจ) ได้แก่ ในปรโลก คำว่า ย่อมบันเทิงในสวรรค์ (สคฺเค ปโมทติ) ความว่า  เขาเกิดขึ้นในสวรรค์ชั้นใด   ย่อมรื่นเริง บันเทิงในสวรรค์ชั้นนั้นแล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น