โปรดเกล้าฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี คนที่ 28
ภาพ : แนวหน้า
8 สิงหาคม 2554
8 สิงหาคม 2554
โปรดเกล้าฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี คนที่ 28
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รับพระบรมราชโองการเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 28
นายกรัฐมนตรี ประกาศพันธสัญญา จะขอสร้างสุข-สลายทุกข์ ให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างสุดกำลังความสามารถ ดิฉันจะไม่ทำเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่จะทำเพื่อประเทศชาติและคนไทยทุกคน...
เวลา 18.30 น. วันนี้ (8ม.ค.) นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี อัญเชิญพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช ความว่า ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย มายัง บริเวณชั้นที่ 7 ที่ทำการพรรคเพื่อไทย อาคาร เอโอไอ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ เพื่อประกาศให้ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ
เวลา 18.30 น. วันนี้ (8ม.ค.) นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี อัญเชิญพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช ความว่า ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย มายัง บริเวณชั้นที่ 7 ที่ทำการพรรคเพื่อไทย อาคาร เอโอไอ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ เพื่อประกาศให้ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ
จากนั้น นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย ได้กล่าวกับสื่อมวลชน ว่า พี่น้องประชาชนชาวไทยที่เคารพรักทุกท่าน ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดิฉันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อรับสนองพระบรมราชโองการ รับใช้เบื้องพระยุคลบาทประเทศชาติและประชาชน ในวาระนี้ ดิฉันถือว่าเป็นเกียรติยศอย่างสูงสุด และเป็นมิ่งขวัญแก่ชีวิตอย่างหาที่สุดไม่ได้
ดิฉันและครอบครัว รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นล้นพ้น นับเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่ดิฉันเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ด้วยความจงรักภักดี
ดิฉันพร้อมจะทุ่มเทมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ และจะอุทิศตนเพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา ในเดือนธันวาคมนี้ และในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 12 สิงหาคม ปีนี้ นับเป็นวโรกาสพิเศษที่สำคัญยิ่งต่อพี่น้องชาวไทยทุกคน ดิฉันขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยทุกหมู่เหล่า ได้ร่วมกันจัดงานถวายพระพร เพื่อแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แก่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสองประองค์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ทุกท่านโดยพร้อมเพรียงกัน
ดิฉันขอขอบคุณพี่น้องประชาชนคนไทย ขอบคุณสมาชิกพรรค ขอบคุณพี่น้องผู้ร่วมอุดมการณ์ประชาธิปไตย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่าน ที่ได้กรุณาให้โอกาสแกดิฉัน การทำงานในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดิฉันถือเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ที่ต้องการพลังจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันผลักดันให้ประเทศชาติของเรา ก้าวผ่านอุปสรรคและปัญหาต่างๆ เพื่อประกาศเกียรติยศศักดิ์ศรี ให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับของนานาประเทศในสากล
ดิฉันยังระลึกถึงถึงพระบรมราโชวาท ที่ได้พระราชทานแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 ม.ค.2532 ซึ่งดิฉันเป็นบัณฑิตจบใหม่ในปีนั้นด้วย ดิฉันขออัญเชิญพระบรมราโชวาทบางตอนดังนี้ "ประการที่สำคัญต้องพยายามใช้ความคิดความเฉลียวฉลาดปรับปรุงตัวปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพเสมอ พร้อมทั้งพยายามประสานงาน ประสานประโยชน์ ให้แก่ทุกคนและทุกฝ่ายที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วย โดยสอดคล้องทั่วถึงงานจึงจะสัมฤทธิ์ผลเป็นประโยชน์ที่พึงประสงค์ คือเป็นประโยชน์แก่งาน แก่ตัวผู้ปฏิบัติแก่ส่วนรวม พร้อมทุกส่วน จึงขอให้บัณฑิตนำคำพูดนี้ไปพิจารณาให้เข้าใจเพื่อใช้เป็นแนวทางต่อไป"
ซึ่งดิฉันได้นำมาเทิดทูลไว้เนื้อเกล้าเหนือกระหม่อม และจะใช้เป็นแนวทางในการทำงานเพื่อผลักดันงานต่างๆ ของรัฐบาลต่อไป
ดิฉันขอปวารณา นำความรู้ความสามารถและสติปัญญา ทุ่มเททำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและตั้งใจอย่างเต็มที่ เพื่อนำพาประเทศของเราไปสู่ความสงบสุข ความสามัคคีปรองดองมีเจตนารมณ์แน่วแน่ ที่จะเข้ามาทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน
ดิฉันพร้อมที่จะทำงานร่วมกับพี่น้องข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน สื่อมวลชนทุกแขนง และพี่น้องประชาชนทุกพื้นที่ อย่างตั้งใจและเต็มใจ เพื่อให้ความสุขนั้นกลับคืนสู่พี่น้องคนไทยทั้งประเทศอีกครั้ง
ดิฉันตระหนักดีว่าการเป็นนายกรัฐมนตรีผู้หญิงในขณะนี้ เป็นความท้าทายและความคาดหวังอย่างมากจากพี่น้องประชาชน แต่ดิฉันเชื่อมั่นว่าความเป็นผู้หญิงไม่เป็นอุปสรรคในการทำงาน ตรงกันข้ามความเข้มแข็งที่ควบคู่กับความอ่อนโยน การรับฟังปัญหาทัศนะที่แตกต่าง ช่วยให้เรานั้นมองเห็นทางเลือกใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น
สุดท้ายนี้ ดิฉันขอขอบคุณพี่น้องประชาชนทั่วประเทศที่ให้โอกาสดิฉัน ซึ่งถือว่าเป็นพันธสัญญาทางใจ ให้ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ในการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ด้วยความภาคภูมิใจ ดิฉันจะมุ่งมั่นสร้างสุขสลายทุกข์ให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างสุดกำลังความสามารถ ดิฉันจะไม่ทำเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่จะทำเพื่อประเทศชาติและคนไทยทุกคน ขอขอบคุณคะ
ดิฉันและครอบครัว รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นล้นพ้น นับเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่ดิฉันเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ด้วยความจงรักภักดี
ดิฉันพร้อมจะทุ่มเทมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ และจะอุทิศตนเพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา ในเดือนธันวาคมนี้ และในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 12 สิงหาคม ปีนี้ นับเป็นวโรกาสพิเศษที่สำคัญยิ่งต่อพี่น้องชาวไทยทุกคน ดิฉันขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยทุกหมู่เหล่า ได้ร่วมกันจัดงานถวายพระพร เพื่อแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แก่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสองประองค์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ทุกท่านโดยพร้อมเพรียงกัน
ดิฉันขอขอบคุณพี่น้องประชาชนคนไทย ขอบคุณสมาชิกพรรค ขอบคุณพี่น้องผู้ร่วมอุดมการณ์ประชาธิปไตย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่าน ที่ได้กรุณาให้โอกาสแกดิฉัน การทำงานในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดิฉันถือเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ที่ต้องการพลังจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันผลักดันให้ประเทศชาติของเรา ก้าวผ่านอุปสรรคและปัญหาต่างๆ เพื่อประกาศเกียรติยศศักดิ์ศรี ให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับของนานาประเทศในสากล
ดิฉันยังระลึกถึงถึงพระบรมราโชวาท ที่ได้พระราชทานแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 ม.ค.2532 ซึ่งดิฉันเป็นบัณฑิตจบใหม่ในปีนั้นด้วย ดิฉันขออัญเชิญพระบรมราโชวาทบางตอนดังนี้ "ประการที่สำคัญต้องพยายามใช้ความคิดความเฉลียวฉลาดปรับปรุงตัวปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพเสมอ พร้อมทั้งพยายามประสานงาน ประสานประโยชน์ ให้แก่ทุกคนและทุกฝ่ายที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วย โดยสอดคล้องทั่วถึงงานจึงจะสัมฤทธิ์ผลเป็นประโยชน์ที่พึงประสงค์ คือเป็นประโยชน์แก่งาน แก่ตัวผู้ปฏิบัติแก่ส่วนรวม พร้อมทุกส่วน จึงขอให้บัณฑิตนำคำพูดนี้ไปพิจารณาให้เข้าใจเพื่อใช้เป็นแนวทางต่อไป"
ซึ่งดิฉันได้นำมาเทิดทูลไว้เนื้อเกล้าเหนือกระหม่อม และจะใช้เป็นแนวทางในการทำงานเพื่อผลักดันงานต่างๆ ของรัฐบาลต่อไป
ดิฉันขอปวารณา นำความรู้ความสามารถและสติปัญญา ทุ่มเททำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและตั้งใจอย่างเต็มที่ เพื่อนำพาประเทศของเราไปสู่ความสงบสุข ความสามัคคีปรองดองมีเจตนารมณ์แน่วแน่ ที่จะเข้ามาทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน
ดิฉันพร้อมที่จะทำงานร่วมกับพี่น้องข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน สื่อมวลชนทุกแขนง และพี่น้องประชาชนทุกพื้นที่ อย่างตั้งใจและเต็มใจ เพื่อให้ความสุขนั้นกลับคืนสู่พี่น้องคนไทยทั้งประเทศอีกครั้ง
ดิฉันตระหนักดีว่าการเป็นนายกรัฐมนตรีผู้หญิงในขณะนี้ เป็นความท้าทายและความคาดหวังอย่างมากจากพี่น้องประชาชน แต่ดิฉันเชื่อมั่นว่าความเป็นผู้หญิงไม่เป็นอุปสรรคในการทำงาน ตรงกันข้ามความเข้มแข็งที่ควบคู่กับความอ่อนโยน การรับฟังปัญหาทัศนะที่แตกต่าง ช่วยให้เรานั้นมองเห็นทางเลือกใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น
สุดท้ายนี้ ดิฉันขอขอบคุณพี่น้องประชาชนทั่วประเทศที่ให้โอกาสดิฉัน ซึ่งถือว่าเป็นพันธสัญญาทางใจ ให้ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ในการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ด้วยความภาคภูมิใจ ดิฉันจะมุ่งมั่นสร้างสุขสลายทุกข์ให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างสุดกำลังความสามารถ ดิฉันจะไม่ทำเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่จะทำเพื่อประเทศชาติและคนไทยทุกคน ขอขอบคุณคะ
สำหรับประวัติของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2510 ปัจจุบันอายุ 44 ปี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 10 คน ของ เลิศ ชินวัตร และยินดี ชินวัตร สมรสกับ นายอนุสรณ์ อมรฉัตร อดีตผู้บริหารในเครือบริษัท ซีพี และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และอดีตกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดย มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือ น้องไปป์
การศึกษา
นายกรัฐมนตรี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัยมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ปริญญาตรีจาก คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชารัฐศาสตร์ (สิงห์ขาวรุ่น 21) เมื่อปี พ.ศ.2531 และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2533
การทำงาน
เมื่อปี พ.ศ.2534 เข้าทำงานที่บริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ฐานข้อมูลและการสื่อสาร ในตำแหน่งพนักงานฝึกหัดด้านการตลาดและการขาย หลังจากนั้นในปีเดียวกันเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ จนกระทั่งสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายผลิตในเวลาต่อมา จากนั้น พ.ศ.2537 จึงเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทโฆษณา เรนโบว์ มีเดีย ซึ่งเดิมเป็นแผนกงานหนึ่งของบริษัท ไอบีซี อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ ทรูวิชั่นส์ ในปัจจุบัน ตำแหน่งสุดท้าย ก่อนลาออกจากบริษัทไอบีซีฯ คือตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการ จากนั้นในปี พ.ศ.2545
เข้าสู่แวดวงธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์และการสื่อสาร ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และรองกรรมการผู้อำนวยการสายงานตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโพร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ชินคอร์ป) โดยได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัท เป็นตำแหน่งสุดท้าย
หลังจาก ตระกูลชินวัตร และดามาพงศ์ข่ยหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ให้แก่ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ของ รัฐบาลสิงคโปร์ ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งในเอไอเอส และได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ในมือทั้งหมดตั้งแต่ปลาย พ.ศ.2548 เพื่อบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คือบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือของตระกูล โดยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ดูแลพอร์ตการลงทุนพัฒนาที่ดินทั้งหมดแทนบุษบา ดามาพงศ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2549
การศึกษา
นายกรัฐมนตรี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัยมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ปริญญาตรีจาก คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชารัฐศาสตร์ (สิงห์ขาวรุ่น 21) เมื่อปี พ.ศ.2531 และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2533
การทำงาน
เมื่อปี พ.ศ.2534 เข้าทำงานที่บริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ฐานข้อมูลและการสื่อสาร ในตำแหน่งพนักงานฝึกหัดด้านการตลาดและการขาย หลังจากนั้นในปีเดียวกันเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ จนกระทั่งสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายผลิตในเวลาต่อมา จากนั้น พ.ศ.2537 จึงเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทโฆษณา เรนโบว์ มีเดีย ซึ่งเดิมเป็นแผนกงานหนึ่งของบริษัท ไอบีซี อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ ทรูวิชั่นส์ ในปัจจุบัน ตำแหน่งสุดท้าย ก่อนลาออกจากบริษัทไอบีซีฯ คือตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการ จากนั้นในปี พ.ศ.2545
เข้าสู่แวดวงธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์และการสื่อสาร ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และรองกรรมการผู้อำนวยการสายงานตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโพร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ชินคอร์ป) โดยได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัท เป็นตำแหน่งสุดท้าย
หลังจาก ตระกูลชินวัตร และดามาพงศ์ข่ยหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ให้แก่ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ของ รัฐบาลสิงคโปร์ ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งในเอไอเอส และได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ในมือทั้งหมดตั้งแต่ปลาย พ.ศ.2548 เพื่อบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คือบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือของตระกูล โดยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ดูแลพอร์ตการลงทุนพัฒนาที่ดินทั้งหมดแทนบุษบา ดามาพงศ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2549
อลิตเติ้ลบุ๊ดดะดอทคอม และไทยรัฐ
ข่าว : ไทยรัฐ
8 สิงหาคม 2554
8 สิงหาคม 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น