เขียนบทความนี้ตอนอยู่แคมป์สน เพชรบูรณ์ ช่วง ปลาย เมษา ๕๔ ไปเป็นวิปัสสนาจารย์อบรมภาคจิตตภาวนาของพระธรรมทูตสายต่่างประเทศรุ่นที่ ๑๗
บทความเรื่อง ประสบการณ์การปฏิบัติธรรม
โดย...พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นคำที่ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วรู้สึกเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และสูงส่งมาก ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครั้งแรก กับคณะวิปัสสนากรรมฐานเคลื่อนที่ซึ่งนำโดยพระเดชพระคุณพระกาฬสินธุ์ธรรมคณี (สมณศักดิ์ในขณะนั้น ต่อมาท่านได้เลื่อนเป็นพระราชธรรมเมธี) รองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่วัดเกษมาคม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ซึ่งเป็นปีที่ข้าพเจ้าบวชพรรษาแรก ตอนนั้นมีความรู้สึกว่า ตัวเองเป็นผู้มีบุญวาสนามากที่มีโอกาสได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพราะในช่วงนั้นวัดที่บ้านและใกล้เคียงไม่มีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ทั้งชาวบ้านและพระสงฆ์ในสมัยนั้นถือว่าเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้ในยุคนั้นเพราะถือว่าเป็นของที่มีเฉพาะในสมัย พุทธกาล จากจุดเริ่มต้นตรงนั้นทำให้ข้าพเจ้ามีความปรารถนาในใจมาตลอดว่า ถ้ามีโอกาสจะหาเวลาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง จนได้เข้ามาเรียนในมหาจุฬาฯ จึงได้มีโอกาสปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ในปีแรก เริ่มที่วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ปีที่สองที่สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม จังหวัดชลบุรี เป็นการไปปฏิบัติชดเชย เพราะข้าพเจ้าทำหนังสือขอลาเพื่อเตรียมตัวสอบบาลี ตามปกติต้องไปปฏิบัติที่แคมป์สน (เฉพาะคณะมนุษยศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒)
การ ไปปฏิบัติในปีนั้น สภาวธรรมอันหนึ่งได้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าคือความโปร่ง โล่งของจิตใจ ในตอนบ่ายวันหนึ่ง ข้าพเจ้าตัดสินใจไม่กำหนดอารมณ์ภายนอกคือเสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ภายในคือ อาการพอง ยุบของท้อง เพราะยิ่งกำหนดยิ่งทำให้จิตฟุ้งซ่านและเกิดความเครียดจึงเปลี่ยนวิธีด้วยตน เองด้วยการนั่งกำหนดดูอาการเต้นของหัวใจเฉย ๆ กำหนดตามไป ๆ จนในที่สุดเกิดสภาวะเหมือนกับว่า จิตมันลงล็อคอะไรสักอย่างหนึ่งเกิดแสงสว่างขึ้นในใจและรู้สึกเบาสบาย โปร่ง โล่ง ไปหมด ความรู้สึกตอนนั้นไม่สามารถบรรยายเป็นคำพูดได้หมด มันมีความสุข ทั้งปีติปนกัน จากนั้นก็พยายามทำเหมือนเดิมอีก แต่สภาวะอันนั้นก็ไม่เกิดขึ้นอีก ได้สอบถามครูบาอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ท่านบอกว่า อารมณ์ใดที่เกิดขึ้นแล้วก็จะไม่เกิดอีกเพราะมันเกิดแล้วก็จะเจริญเติบโตขึ้น เป็นอย่างอื่นอุปมาเหมือนต้นไม้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะเจริญเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ ต้นเดิมก็จะหายไปโดยปริยาย
ในปีพ.ศ. ๒๕๕๒ ข้าพเจ้าได้เข้าปฏิบัติที่วัดภัททันตะอาสภาราม จังหวัดชลบุรีในฐานะนิสิตชั้นปริญญาเอก ผลของการปฏิบัติทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจคำว่า “ขณิกสมาธิ” ที่ใช้กับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานมากขึ้น ความเข้าใจของข้าพเจ้าอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ คือเข้าใจว่า ขณิกสมาธิที่ใช้กับวิปัสสนากรรมฐาน คือให้มีสมาธิพอประมาณไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป เปรียบเสมือนชาวนาคลาดนา ที่จะทำการดำนา เขาจะปล่อยน้ำออกจากแปลงนาไม่ให้มีน้ำมากหรือน้อยเกินไป ให้มีพอสมดุลกันกับโคลนตม เพื่อที่จะคลาดได้ลื่นไหลและมองเห็นว่า ตรงไหนราบเรียบแล้วตรงไหนยังเป็นเนินอยู่ ถ้าชาวนาปล่อยให้มีน้ำมากเกินไปก็จะมองไม่เห็น คลาดได้ไม่ดี ถ้าให้มีน้ำน้อยเกินไปก็จะคลาดยาก เพราะโคลนตมจะเหนียวไม่ลื่นไหล ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็เช่นเดียวกันคือใช้สมาธิเพียงเล็กน้อยไม่ให้ สมาธิมากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เพราะถ้าสมาธิมากเกินไปก็จะทำให้หลับไม่สามารถกำหนดอารมณ์ที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันได้ ถ้าสมาธิน้อยเกินไปก็จะทำให้จิตฟุ้งซ่านหรือห่อเหี่ยวทำให้เครียดหรือท้อแท้ ได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ ทุกอิริยาบถไม่ว่าจะเป็นการ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องให้มีสมาธิเข้าไปหล่อเลี้ยงเสมอ ข้าพเจ้ารู้วิธีนี้แล้วจึงเอาไปปรับใช้กับการปฏิบัติ ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ในปีพ.ศ. ๒๕๕๔ ช่วงเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ ข้าพเจ้าได้ไปปฏิบัติที่วัดภัททันตะอีกครั้ง คราวนี้ข้าพเจ้าได้รู้ว่า การกำหนดลอย ๆ โดยสติไม่คมชัดไม่สามารถจะหยุดยั้งอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ หมายความว่า เมื่อเราคิด เรากำหนดว่า คิดหนอ คิดหนอ คิดหนอ ครบ ๓ ครั้งแล้วก็กำหนดอิริยาบถอื่นต่อไป เช่น การเดินเป็นต้น ไม่สามารถหยุดยั้งความคิดได้ อุปมาเหมือนกับการหมุนเกลียวที่สึกหรอ หรืออุปมาเหมือนกับการดาวโหลดโปรแกรมหรือข้อมูลบางอย่างจากอินเตอร์เน็ต ถ้ามันโหลดไม่ติดมันก็จะหมุนอยู่อย่างนั้นแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร ทำให้เสียเวลาเปล่า เมื่อข้าพเจ้ารู้อย่างนี้แล้วจึงได้เปลี่ยนวิธีใหม่คือ ตั้งใจกำหนดทุกครั้งที่อารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น ผลปรากฏว่า การปฏิบัติได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
มีอาจารย์ที่ทำหน้าที่นำปฏิบัติและสอบอารมณ์แนะนำให้หลับตากำหนดดูรูปยืน ๓ รอบ คือ รอบแรกตั้งแต่ศีรษะลงมาจนถึงปลายเท้า รอบที่สองตั้งแต่ปลายเท้าจนถึงศีรษะ รอบที่ ๓ ตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้าอีก ข้าพเจ้าลองทำตาม รู้สึกว่าไม่ก้าวหน้าสติไม่มีกำลัง จึงเปลี่ยนมากำหนดดูที่ต้นจิตคือตรงลิ้นปี่ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีดั้งเดิมที่หลวงพ่อภัททันตะแนะนำลูกศิษย์และลูกศิษย์ก็ นำมาสอนลูกศิษย์อีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้ารู้สึกว่า วิธีนี้ทำให้เกิดสติดีกว่า (สำหรับข้าพเจ้า คนอื่นอาจจะเห็นแย้งก็ได้)
อีกอย่างหนึ่งที่ข้าพเจ้า เข้าใจเพิ่มขึ้นก็คือ ความเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง คือ เข้าใจว่าอะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด เราก็ต้องยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ไปทัดทานหรือทวนกระแส เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้วทำให้มีความทุกข์น้อยลง ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ที่คนส่วนมากเป็นทุกข์ เพราะไปปรุงแต่งอยากให้มันเป็นอย่างที่ตัวเองต้องการหรือปรารถนา ไม่ได้กำหนดรู้ตามที่มันเป็น ซึ่งเป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าเทศน์สอนพวกปัญจวัคคีย์ครั้งแรกในปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตอนหนึ่งที่ว่า เมื่อทุกข์เกิดขึ้นให้กำหนดรู้ทุกข์แล้วจึงกำหนดหาสาเหตุของมัน เนื้อความตรงนี้เราเคยท่องเคยสวดมาตั้งนานแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็ไม่เข้าใจความหมายที่เป็นสภาวธรรม เพียงแต่เข้าใจตามคำแปลที่แปลกันสืบ ๆ มา
โดย...พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นคำที่ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วรู้สึกเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และสูงส่งมาก ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครั้งแรก กับคณะวิปัสสนากรรมฐานเคลื่อนที่ซึ่งนำโดยพระเดชพระคุณพระกาฬสินธุ์ธรรมคณี (สมณศักดิ์ในขณะนั้น ต่อมาท่านได้เลื่อนเป็นพระราชธรรมเมธี) รองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่วัดเกษมาคม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ซึ่งเป็นปีที่ข้าพเจ้าบวชพรรษาแรก ตอนนั้นมีความรู้สึกว่า ตัวเองเป็นผู้มีบุญวาสนามากที่มีโอกาสได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพราะในช่วงนั้นวัดที่บ้านและใกล้เคียงไม่มีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ทั้งชาวบ้านและพระสงฆ์ในสมัยนั้นถือว่าเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้ในยุคนั้นเพราะถือว่าเป็นของที่มีเฉพาะในสมัย พุทธกาล จากจุดเริ่มต้นตรงนั้นทำให้ข้าพเจ้ามีความปรารถนาในใจมาตลอดว่า ถ้ามีโอกาสจะหาเวลาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง จนได้เข้ามาเรียนในมหาจุฬาฯ จึงได้มีโอกาสปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ในปีแรก เริ่มที่วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ปีที่สองที่สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม จังหวัดชลบุรี เป็นการไปปฏิบัติชดเชย เพราะข้าพเจ้าทำหนังสือขอลาเพื่อเตรียมตัวสอบบาลี ตามปกติต้องไปปฏิบัติที่แคมป์สน (เฉพาะคณะมนุษยศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒)
การ ไปปฏิบัติในปีนั้น สภาวธรรมอันหนึ่งได้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าคือความโปร่ง โล่งของจิตใจ ในตอนบ่ายวันหนึ่ง ข้าพเจ้าตัดสินใจไม่กำหนดอารมณ์ภายนอกคือเสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ภายในคือ อาการพอง ยุบของท้อง เพราะยิ่งกำหนดยิ่งทำให้จิตฟุ้งซ่านและเกิดความเครียดจึงเปลี่ยนวิธีด้วยตน เองด้วยการนั่งกำหนดดูอาการเต้นของหัวใจเฉย ๆ กำหนดตามไป ๆ จนในที่สุดเกิดสภาวะเหมือนกับว่า จิตมันลงล็อคอะไรสักอย่างหนึ่งเกิดแสงสว่างขึ้นในใจและรู้สึกเบาสบาย โปร่ง โล่ง ไปหมด ความรู้สึกตอนนั้นไม่สามารถบรรยายเป็นคำพูดได้หมด มันมีความสุข ทั้งปีติปนกัน จากนั้นก็พยายามทำเหมือนเดิมอีก แต่สภาวะอันนั้นก็ไม่เกิดขึ้นอีก ได้สอบถามครูบาอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ท่านบอกว่า อารมณ์ใดที่เกิดขึ้นแล้วก็จะไม่เกิดอีกเพราะมันเกิดแล้วก็จะเจริญเติบโตขึ้น เป็นอย่างอื่นอุปมาเหมือนต้นไม้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะเจริญเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ ต้นเดิมก็จะหายไปโดยปริยาย
ในปีพ.ศ. ๒๕๕๒ ข้าพเจ้าได้เข้าปฏิบัติที่วัดภัททันตะอาสภาราม จังหวัดชลบุรีในฐานะนิสิตชั้นปริญญาเอก ผลของการปฏิบัติทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจคำว่า “ขณิกสมาธิ” ที่ใช้กับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานมากขึ้น ความเข้าใจของข้าพเจ้าอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ คือเข้าใจว่า ขณิกสมาธิที่ใช้กับวิปัสสนากรรมฐาน คือให้มีสมาธิพอประมาณไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป เปรียบเสมือนชาวนาคลาดนา ที่จะทำการดำนา เขาจะปล่อยน้ำออกจากแปลงนาไม่ให้มีน้ำมากหรือน้อยเกินไป ให้มีพอสมดุลกันกับโคลนตม เพื่อที่จะคลาดได้ลื่นไหลและมองเห็นว่า ตรงไหนราบเรียบแล้วตรงไหนยังเป็นเนินอยู่ ถ้าชาวนาปล่อยให้มีน้ำมากเกินไปก็จะมองไม่เห็น คลาดได้ไม่ดี ถ้าให้มีน้ำน้อยเกินไปก็จะคลาดยาก เพราะโคลนตมจะเหนียวไม่ลื่นไหล ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็เช่นเดียวกันคือใช้สมาธิเพียงเล็กน้อยไม่ให้ สมาธิมากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เพราะถ้าสมาธิมากเกินไปก็จะทำให้หลับไม่สามารถกำหนดอารมณ์ที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันได้ ถ้าสมาธิน้อยเกินไปก็จะทำให้จิตฟุ้งซ่านหรือห่อเหี่ยวทำให้เครียดหรือท้อแท้ ได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ ทุกอิริยาบถไม่ว่าจะเป็นการ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องให้มีสมาธิเข้าไปหล่อเลี้ยงเสมอ ข้าพเจ้ารู้วิธีนี้แล้วจึงเอาไปปรับใช้กับการปฏิบัติ ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ในปีพ.ศ. ๒๕๕๔ ช่วงเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ ข้าพเจ้าได้ไปปฏิบัติที่วัดภัททันตะอีกครั้ง คราวนี้ข้าพเจ้าได้รู้ว่า การกำหนดลอย ๆ โดยสติไม่คมชัดไม่สามารถจะหยุดยั้งอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ หมายความว่า เมื่อเราคิด เรากำหนดว่า คิดหนอ คิดหนอ คิดหนอ ครบ ๓ ครั้งแล้วก็กำหนดอิริยาบถอื่นต่อไป เช่น การเดินเป็นต้น ไม่สามารถหยุดยั้งความคิดได้ อุปมาเหมือนกับการหมุนเกลียวที่สึกหรอ หรืออุปมาเหมือนกับการดาวโหลดโปรแกรมหรือข้อมูลบางอย่างจากอินเตอร์เน็ต ถ้ามันโหลดไม่ติดมันก็จะหมุนอยู่อย่างนั้นแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร ทำให้เสียเวลาเปล่า เมื่อข้าพเจ้ารู้อย่างนี้แล้วจึงได้เปลี่ยนวิธีใหม่คือ ตั้งใจกำหนดทุกครั้งที่อารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น ผลปรากฏว่า การปฏิบัติได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
มีอาจารย์ที่ทำหน้าที่นำปฏิบัติและสอบอารมณ์แนะนำให้หลับตากำหนดดูรูปยืน ๓ รอบ คือ รอบแรกตั้งแต่ศีรษะลงมาจนถึงปลายเท้า รอบที่สองตั้งแต่ปลายเท้าจนถึงศีรษะ รอบที่ ๓ ตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้าอีก ข้าพเจ้าลองทำตาม รู้สึกว่าไม่ก้าวหน้าสติไม่มีกำลัง จึงเปลี่ยนมากำหนดดูที่ต้นจิตคือตรงลิ้นปี่ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีดั้งเดิมที่หลวงพ่อภัททันตะแนะนำลูกศิษย์และลูกศิษย์ก็ นำมาสอนลูกศิษย์อีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้ารู้สึกว่า วิธีนี้ทำให้เกิดสติดีกว่า (สำหรับข้าพเจ้า คนอื่นอาจจะเห็นแย้งก็ได้)
อีกอย่างหนึ่งที่ข้าพเจ้า เข้าใจเพิ่มขึ้นก็คือ ความเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง คือ เข้าใจว่าอะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด เราก็ต้องยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ไปทัดทานหรือทวนกระแส เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้วทำให้มีความทุกข์น้อยลง ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ที่คนส่วนมากเป็นทุกข์ เพราะไปปรุงแต่งอยากให้มันเป็นอย่างที่ตัวเองต้องการหรือปรารถนา ไม่ได้กำหนดรู้ตามที่มันเป็น ซึ่งเป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าเทศน์สอนพวกปัญจวัคคีย์ครั้งแรกในปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตอนหนึ่งที่ว่า เมื่อทุกข์เกิดขึ้นให้กำหนดรู้ทุกข์แล้วจึงกำหนดหาสาเหตุของมัน เนื้อความตรงนี้เราเคยท่องเคยสวดมาตั้งนานแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็ไม่เข้าใจความหมายที่เป็นสภาวธรรม เพียงแต่เข้าใจตามคำแปลที่แปลกันสืบ ๆ มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น