วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

กุลสูตร ว่าด้วยตระกูลที่ภิกษุไม่ควรเข้าไปหาและควรเข้าไปหา

            
พระสูตรนี้นำเสนอเพื่อให้พระภิกษุสามเณร  และคฤหัสถ์ได้นำไปพิจารณา  ตามสมควรแก่สติปัญญา และสถานการณ์ 
พระสูตรนี้อยู่ในพระไตรปิฎก ฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ ข้อ ๑๓ หน้า ๑๙ อังคุตตรนิกาย  สัตตกนิบาต  


. กุลสูตร๑
      ว่าด้วยตระกูลที่ภิกษุไม่ควรเข้าไปหาและควรเข้าไปหา

            [๑๓]    ภิกษุทั้งหลาย    ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์    ๗    ประการ    ภิกษุยังไม่เคย
เข้าไปหา    ก็ไม่ควรเข้าไปหา    หรือเข้าไปหาแล้ว    ก็ไม่ควรนั่งใกล้
            องค์    ๗    ประการ    อะไรบ้าง    คือ
            ตระกูล
                        ๑.    ต้อนรับด้วยความไม่เต็มใจ
                        ๒.    ไหว้ด้วยความไม่เต็มใจ
                        ๓.    ให้อาสนะด้วยความไม่เต็มใจ
                        ๔.    ปกปิดของที่มีอยู่
                        ๕.    มีของมาก    แต่ถวายน้อย
                        ๖.    มีของประณีต    แต่ถวายของเศร้าหมอง
                        ๗.    ถวายโดยไม่เคารพ    ไม่ถวายโดยเคารพ
            ภิกษุทั้งหลาย    ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์    ๗    ประการนี้แล    ภิกษุยังไม่เคยเข้า
ไปหา    ก็ไม่ควรเข้าไปหา    หรือเข้าไปหาแล้ว    ก็ไม่ควรนั่งใกล้
            ภิกษุทั้งหลาย    ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์    ๗    ประการ    ภิกษุยังไม่เคยเข้าไปหา
ควรเข้าไปหา    หรือเข้าไปหาแล้ว    ควรนั่งใกล้
            องค์    ๗    ประการ    อะไรบ้าง    คือ
            ตระกูล
                        ๑.    ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
                        ๒.    ไหว้ด้วยความเต็มใจ
                        ๓.    ให้อาสนะด้วยความเต็มใจ
                        ๔.    ไม่ปกปิดของที่มีอยู่
                        ๕.    มีของมาก    ก็ถวายมาก
                        ๖.    มีของประณีต    ก็ถวายของประณีต
                        ๗.    ถวายโดยเคารพ    ไม่ถวายโดยไม่เคารพ
            ภิกษุทั้งหลาย    ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์    ๗    ประการนี้แล    ภิกษุยังไม่เคยเข้า
ไปหา    ควรเข้าไปหา    หรือเข้าไปหาแล้ว    ควรนั่งใกล้
                  กุลสูตรที่ ๓ จบ

สา้เหตุที่พระพุทธองค์ตรัสพระสูตรนี้เพราะมีเรื่องเกิดขึ้น คือ พระเจ้าปเสนทิโกศล นิมนต์พระภิกษุไปรับอาหารบิณฑบาตในพระราชวัง  พระองค์ได้จัดของมาถวายด้วยพระองค์เองอยู่สองสามวัน  หลังจากนั้น  พระองค์ก็ลืม และไม่ได้สั่งคนอื่นทำแทน ตามธรรมเนียมของพระราชวัง ถ้าไม่ได้รับคำสั่งจะมีใครกล้าทำอะไร  จึงเป็นเหตุให้ไม่มีใครนำภัตตาหารมาถวายพระภิกษุที่ไปรับ  เป็นอย่างนี้ติดต่อกันหลายวัน  จนพระภิกษุลดน้อยลง  ในที่สุดเหลือพระอานนท์เพียงรูปเดียว  ต่อมาพระราชานึกขึ้นได้ว่านิมนต์พระภิกษุมารับอาหารบิณฑบาต จึงเตรียมของมาถวาย  แต่มีพระอานนท์รูปเีดียวมารับ  พระองค์จึงเสียพระทัย  เข้าใจว่า พระภิกษุไม่ให้ความสำคัญต่อพระองค์ จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องทั้งหมดให้พระองค์ทราบ  พระพุทธองค์ ตรัสปลอบใจพระราชาว่า ไม่ใช่พระภิกษุไม่ให้ความสำคัญต่อพระองค์  พระภิกษุไปแล้วแต่ไม่มีใครนำภัตตาหารมาถวาย  หลายวันเข้าพระภิกษุจึงลดลงเพราะไปแล้วไม่ได้ภัตตาหาร  จนเหลือพระอานนท์รูปเดียว  


หลังจากที่พระเจ้าปเสนทิโกศล  กลับไปแล้วพระองค์จึงให้ประชุมสงฆ์แล้วตรัสพระสูตรนี้ มีใจความตามที่ปรากฏในพระสูตรข้างบนนี้  


วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

สังฆสามัคคีสูตร ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้สามัคคีกัน

 
 พระสูตรนี้พระพุทธองค์ แสดงให้เห็นความสำคัญของ ความสามัคคี  ถ้าสังคมใด ไม่ว่าจะเป็นสังคมเล็ก ๆ เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง ชุมชน หรือสังคมใหญ่ ๆ เช่น ประเทศชาติ ทวีป และชาวโลกทั้งหมด  ถ้าคนในสังคมนั้น ๆ มีความสามัคคีกันแล้ว จะทำให้มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว  สังคมจะอยู่ด้วยกันอย่างอบอุ่น ร่มเย็น เป็นสุขกันทั่วหน้า จะประกอบกิจการงานอะไร ก็จะประสบความสำเร็จ เจริญก้าวหน้า 

พระสูตรนี้อยู่ในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๒๕ ขุททนิกาย  ธรรมบท ข้อที่ ๑๙ หน้า ๓๖๒-๓๖๓.
ส่่วนในพระไตรปิฎกฉบับอื่น จะตั้งชื่อว่า โมทสูตร อยู่ในเล่มเดียวกัน  และอยู่คนละข้อ และคนละหน้า ดังที่นำมาเสนอไว้ต่อจากฉบับของ มหาจุฬาฯ  (มจร.) นี้

. สังฆสามัคคีสูตร
ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้สามัคคีกัน
[๑๙]    แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เกิดขึ้นเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมอย่างหนึ่ง  คืออะไร
คือ  สังฆสามัคคี
ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ย่อมไม่มีความบาดหมางกัน ไม่มีการข่มขู่กัน ไม่มีการด่าว่ากัน และไม่มีการขับไล่กัน ในเพราะความสามัคคีของสงฆ์นั้น ชนทั้งหลายที่ยังไม่เลื่อมใส ก็เลื่อมใส ส่วนชนทั้งหลายที่เลื่อมใสแล้ว ก็เลื่อมใส         ยิ่ง ๆ ขึ้นไปŽ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว  ในพระสูตรนั้น  จึงตรัส               คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ความสามัคคีแห่งสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิดสุข
และบุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ผู้สามัคคีกันแล้ว
ผู้ยินดีในความสามัคคีกัน ตั้งอยู่ในธรรม
ย่อมไม่พลาดจากธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป เพราะสมานสงฆ์ให้สามัคคีกัน๑
แม้เนื้อความนี้  พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สังฆสามัคคีสูตรที่ ๙ จบ
๙. โมทสูตร
               [๑๙๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็น
อันมาก เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ สังฆสามัคคี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์พร้อม
เพรียงกันอยู่ย่อมไม่มีการบาดหมางซึ่งกันและกัน ไม่มีการบริภาษซึ่งกันและกัน ไม่มีการ
ขับไล่ซึ่งกันและกัน ในเพราะสังฆสามัคคีนั้น ชนทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส
และชนผู้เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป ฯ
        พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
        ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข และการอนุเคราะห์ซึ่งหมู่ผู้พร้อม
        เพรียงกันให้เกิดสุข ผู้ยินดีแล้วในหมู่ผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม
        ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ผู้นั้นกระทำหมู่ให้พร้อมเพรียง
        กันแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ /๑๙๗/๑๗๐.
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิตอวุตตก-สุตตนิบาต - หน้าที่ ๑๗๐.

 นอก จากที่ปรากฏในพระสูตรนี้แล้วยัง ยังมีปรากฏเป็นข้อที่ ๒ ในจำนวน ๗ ข้อ ในมหาปรินิพพานสูตร  ตอนว่าด้วยภิกขุอปริหานิยธรรม ๗ ประการ ในพระสูตรนั้น  พระองค์ตรัสว่า ถ้าตราบใดที่พระภิกษุยังมีความสามัคคีกัน ทำกิจการต่าง ๆ ของสงฆ์อยู่ สงฆ์หมู่นั้น ๆ ก็จะมีแต่ความเจริญฝ่ายเดียวไม่มีความเสื่อม คือ ประชุมพร้อมกัน เลิกพร้อมกัน  เมื่อมีกิจของสงฆ์เกิดขึ้นก็ช่วยกันทำ  

มหาปรินิพพานสูตร ตอนว่าด้วย ภิกขุอปริหานิยธรรม  อยู่ในพระไตรปิฎกฉบับ มจร.  เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๑๓๖   หน้า ๘๑-๘๓

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

ประมวลภาพงานย่อช่อฟ้าศาลาโบสถ์วัดดอนทองวราราม ๑๕ เมษายน ๒๕๕๕ (๓)








ประมวลภาพงานย่อช่อฟ้าศาลาโบสถ์วัดดอนทองวราราม ๑๕ เมษายน ๒๕๕๕ (๒)


หลวงพ่อทักทายญาติโยมและพระเถระที่มาร่วมพิธี  ตามธรรมเนียม  โบราณเชื่อว่า ผู้หลักผู้ใหญ่ มาเยี่ยมสถานที่ ถือว่าเป็นมงคลแก่สถานที่และชุมชน ภาษาอีสานว่า ช้างเหยียบนา พระยาเหยียบเมือง จะเป็นสิริมงคล
ได้เห็นก็เป็นบุญตา  ได้เจรจาปราศัยก็เป็นบุญปาก  ได้อุปถัมภ์อุปฐากก็เป็นบุญใจ 




นำพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ขึ้นไปบนศาลาโบสถ์เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และรับการทำสามีจิกรรม  จากคณะพระภิกษุ สามเณร ตามธรรมเนียมปฏิบัติของอริยวินัย


พระเดชพระคุณหลวงพ่อ จุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัย ก่อนจะเป็นประธานนำเจริญพระพุทธมนต์




พายายราตรี และลูก ๆ หลาน ๆ จบเครื่องไทยทาน ตั้งจิตอธิษฐาน ก่อนจะนำไปถวายสงฆ์หมู่ใหญ่
  


คณะญาติโยม  จากอำเภอป่าติ้ว  ยโสธร  นำต้นดอกไม้เงินมาทอดถวายสมทบ นำโดย คุณพ่อบุญมา  ฤทธิ์มนตรี (เสื้อสีชมพูเป็นคนบ้านดอนหัน ไปมีครอบครัวอยู่ที่นั่น เป็นหลานชายของยายจันทร์  ยุบลมาตย์ และเหลนของยายทวดจั้น  ยุบลชู)


นายพัฒนพล  คำกมล เป็นพี่ชายของผู้เขียน จบ ป.ธ. ๔, พุทธศาสตรบัณฑิต พธ.บ. (การเมืองการปกครอง) วิทยาเขตขอนแก่น, การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต กศ.ม. มหาวิทยามหาสารคาม อยู่กับหลวงพ่อวัดหนองแวงตั้งแต่เป็นสามเณรจนบวชพระ หลวงพ่อว่าจะขอผู้ช่วยเจ้าอาวาสให้ กลัวไม่ได้ลาสิกขา จึงขอลาหลวงพ่อไปปฏิบัติศาสนกิจ ที่อำเภอภูเวียง แล้วถือโอกาสลาสิกขาที่นั่น
  ปัจจุบันเป็นนักวิชาการกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม กลุ่ม ๑๑ สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีครอบครัวอยู่ที่ บุรีรัมย์ แต่งงานกับนางนวพร  คำกมล ครูโรงเรียนอนุบาลห้วยราช 
กำลังบันทึกภาพวีดีโอ ไว้เป็นที่ระลึก เพราะนาน ๆ ปี จะมีงานอย่างนี้สักครั้งหนึ่ง  วัดดอนทอง กว่าจะได้ทำพิธีฉลองยกช่อฟ้า ก็ใช้เวลาสร้างถึง ๑๐ ปี   




ภาพภายในศาลาโบสถ์ที่เตรียมไว้ต้อนรับพระสงฆ์และญาติโยม ศาลาโบสถ์หลังนี้ ขนาดกว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๔๐ เมตร  ปรัชญาในการสร้างโบสถ์คือ โบสถ์หรืออุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระประธานภายในวัด จึงควรให้ใหญ่กว่าอาคารอื่น ๆ และขณะเดียวกันก็สามารถประกอบศาสนกิจได้ทุกอย่าง 



ภาพศาลาโบสถ์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก  มีมุขหันหน้าไปทางทิศเหนือ 


ภาพประตูโขง  หน้าวัด ถ่ายจากหน้าศาลาโบสถ์  เป็นภาพที่สวยงาม เห็นแล้วเกิดความปีติยินดี 





ภาพประดับธงทิวและธงแผ่นผ้า ดูทีไรก็ชื่นใจทุกครั้งเป็นภาพที่หาดูได้ยาก  ได้เห็นก็เป็นบุญตา


ผ้าป่าลอยฟ้า เปิดโอกาสให้ญาติโยมทำบุญผ้าลอยฟ้า ด้วยการเอาปัจจัยไปติดไว้กับสริงที่ใช้ยกช่อฟ้า เป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ถือเอาคำว่า ฟ้า คือที่สูงและไม่เคยตกต่ำ เชื่อกันว่า ถ้าได้ทำบุญยกช่อฟ้าแล้ว ชีวิตจะเจริญรุ่งเรือง ตลอดไป









ภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธองค์เทศน์โปรดปัญจวัคคีย์ เป็นการประกาศพระศาสนาครั้งแรก หรือภาษาสมัยใหม่ เรียกว่า ประกาศหรือเสนอทฤษฎีใหม่  เพื่อความพ้นจากทุกข์ คือ การเกิด  การเจ็บ การแก่ และการตาย ทฤษฎีนั้น คือ ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) 

เรื่องของสุนัขกตัญญูต่อเจ้าของ


เรื่องทำนองนี้มีปรากฏในอรรถกถาธรรมบท ภาคที่ ๒ เรื่องนางสามาวดี เกี่ยวกับสุนัข มีความรักในพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ละวันสุนัขจะไปที่กุฏิของพระปัจเจกพุทธเจ้ากับเจ้าของ เพื่อนิมนต์ท่านมารับอาหารบิณฑบาต เวลาเดินไปในระหว่างทาง ที่ตรงไหนเป็นพุ่มไม้น่าสงสัยว่าจะมีสัตว์ร้ายอยู่ เจ้าของสุนัขก็จะเอาไม้ตีพุ่มไม้เพื่อไล่สัตว์ร้ายให้หนีไป  พอไปถึงกุฏิพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็จะไปเคาะประตูเพื่อให้ท่านทราบว่ามาถึงแล้ว  เมื่อท่านพร้อมแล้วก็จะพาท่านเดินมาตามทาง  จนถึงบ้านแล้วถวายอาหารบิณฑบาต ทำอย่างนี้ประจำ  จนสุนัขจำทางและการกระทำต่าง ๆ ได้ ต่อมาถ้าวันไหนเจ้าของไปไม่ได้คือติดทำธุระอย่างอื่นอยู่ก็จะส่งสุนัขไปนิมนต์ท่านแทน  สุนัขตัวนั้นก็จะทำตามที่เจ้าของทำ คือ ไปถึงตรงที่พุ่มไม้ ที่เจ้าเอาไม้ตีไล่สัตว์ร้าย ก็จะยืนเห่า เพื่อไล่สัตว์ไป  พอไปถึงกุฏิของพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็จะไปยืนเห่าอยู่ใกล้ ๆ ประตูเพื่อให้ท่านทราบว่า ตนมารับแล้ว  และขณะที่เดินมาที่บ้าน บางวันพระปัจเจกพุทธเจ้า แกล้งทำเป็นเดินออกนอกทาง  สุนัขก็จะวิ่งไปคาบชายจีวร  ดึงท่านกลับมาสู่ทางเดิม  เป็นการแสดงความรัก ความเอ็นดูแก่กันและกันระหว่างพระปัจเจกพุทธเจ้า กับสุนัข  

สุนัขทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลาหลายเดือน  จนอยู่มาวันหนึ่งเมื่อปวารณาออกพรรษาแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้า ต้องการจะกลับไปอยู่ถิ่นเดิมของท่าน คือภูเขาคันธมาท เมื่อรับอาหารบิณฑบาตแล้วจึงกล่าวลาโยม  สุนัขก็นั่งฟังอยู่ใกล้ ๆ คงจะพอทราบความหมาย ว่าคุยระไรกัน  หลังร่ำลากันแล้วพระปัจเจกพุทธเจ้าก็เหาะไปภูเขาคันธมาท สุนัขเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ไปจากอย่างนั้นก็อดกลั้นความอาลัยในท่านไม่ไหวจึงขาดใจตายลงตรงนั้น  แล้วไปเกิดเป็นเทพบุตรบนสวรรค์  ได้ชื่อ โฆสกเทพบุตร แปลว่า เทพบุตรผู้มีเสียงกึกก้อง  ด้วยอานิสงส์ที่เห่าไล่สัตว์ให้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า  และต่อมาเทพบุตรนั้นก็ได้รับตำแหน่งเป็นโฆษก ประจำสวรรค์

แต่เรื่องของสุนัขที่นำมาเสนอนี้ เป็นสุนัขที่ยังมีชีวิตในปัจจุบัน เป็นเรื่องราวที่น่าทึ่งอีกเรื่องหนึ่ง

 
เป็นที่กล่าวขานชื่นชมของชาวบ้านหมู่ชาวบ้านรัตนโกสินทร์ 200ปี ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานีเป็นอย่างมาก หลังมีสุนัขพันธุ์โกลเด้นตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็นเด็กวัด คอยลากรถเข็นช่วยพระบิณฑบาตรในย่านดังกล่าวเป็นประจำ
จากการสอบถาม พระหนูที สุตตธัมโม อายุ 56 ปี พระลูกวัดจันทราทิพย์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี ซึ่งได้เดินทางมาธุดงค์ที่ จ.ปทุมธานี ทราบว่า สุนัขตัวดังกล่าวมีชื่อว่า สมหวัง โดยตนเลี้ยงมันมาได้ประมาณ 6 เดือนแล้ว หลังมีฝรั่งนำมาถวายให้กับทางวัด
ขณะที่มาอยู่วัดใหม่ๆ เจ้าสมหวังมักออกเดินไปกับตนด้วยทุกวัน เมื่อถึงเวลามันก็มักจะมาเห่าเรียกทุกเช้า โดยจะไปคาบถังเพื่อใส่อาหาร ต่อมาจึงคิดทำล้อเลื่อนให้กับมัน เพื่อให้เดินไปไหนมาไหนสะดวก ซึ่งมันก็ชอบใจเป็นอย่างมาก
สาเหตุที่ตนและเจ้าสมหวังผ่านมาย่านรังสิตนั้น เนื่องจากหลังออกพรรษาตนได้ออกเดินธุดงค์ทั่วประเทศ จึงนำเจ้าสมหวังและรถล้อเลื่อนคันนี้มาด้วย
เจ้าสมหวังก็ทำหน้าที่ของมันได้ไม่บกพร่อง และไม่ตื่นกลัวใครแม้จะต้องย้ายที่ไปเรื่อยๆ ก็ตาม
ข้อมูลโดยwww.talkystory.com/

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

ประมวลภาพงานย่อช่อฟ้าศาลาโบสถ์วัดดอนทองวราราม ๑๕ เมษายน ๒๕๕๔




พิธียกช่อฟ้าเริ่มขึ้น ประธานฝ่ายสงฆ์นำโดยพระเดชพระคุณพระเทพวงศาจารย์  ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙ เจ้าอาวาสวัดหนองแวง  พระอารามหลวง ขอนแก่น  ฝ่ายฆราวาสนำโดย ส.ส. บุญรื่น  ศรีธเรศ  ส.ส. นิพนธ์  ศรีธเรศ และชาวบ้าน
 




คณะพระภิกษุสามเณรเข้าแถวต้อนรับ ประธานฝ่ายสงฆ์ พระเดชพระคุณพระเทพวงศาจารย์ (หลวงพ่อคูณ  ขนฺติโก)
 

ต้อนรับปฏิสันถาน พระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายปกครอง ในจังหวัด ที่เห็นในภาพ คือ พระครูอนุสรธรรมคุณ รองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์  เจ้าอาวาสวัดอร่ามมงคล  ยางตลาด 
 




คณะสงฆ์ให้การต้อนรับปฏิสันถาน พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระเทพวงศาจารย์ ประธานในพิธี

 

 


พระเดชพระคุณพระราชศีลโสภิต  รองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์  เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธมงคล
 

ญาติโยมเข้าแถวต้อนรับหลวงพ่อประธานด้วย คนแรกคงไม่ต้องแนะนำเพราะแนะนำบ่อยครั้งแล้ว ส่วนคนที่สองแม่สายทอง ศิริภักดิ์ อุบาสิกาประจำวัดดอนทอง
 
 


พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ จำนวน ๕๐ รูปเจริญพระพุทธมนต์  และพระสงฆ์ สามเณร จำนวน ๑๐๐ รูปมาร่วมพิธี
 


ภาพบรรยากาศบริเวณศาลาโบสถ์และลานวัด ถูกประดับด้วยผ้าอย่างสวยงาม ซึ่งได้รับความอุปถัมภ์จากโรงงานทอผ้า สุขสวัสดิ์การทอ โดยคุณพ่อสุข  คุณแม่อมร  ยุบลชู 

 






ภาพฝาผนัง แสดงภาพพุทธประวัติ และภาพเวสส้นดรชาดก
 


คุณยายราตรี สง่าชาติ นำลูกสาว ลูกเขย  และหลานชาย หลานสาว ไปร่วมงานกันพร้อมหน้า เป็นภาพที่น่าอนุโมทนา
ที่เห็นในภาพคือ น้องแชมป์  นายชูชนม์ หลานชาย คนโต และน้องแบ๊งค์  นายปาลพงษ์  หลานชายคนเล็ก