วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

สังฆสามัคคีสูตร ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้สามัคคีกัน

 
 พระสูตรนี้พระพุทธองค์ แสดงให้เห็นความสำคัญของ ความสามัคคี  ถ้าสังคมใด ไม่ว่าจะเป็นสังคมเล็ก ๆ เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง ชุมชน หรือสังคมใหญ่ ๆ เช่น ประเทศชาติ ทวีป และชาวโลกทั้งหมด  ถ้าคนในสังคมนั้น ๆ มีความสามัคคีกันแล้ว จะทำให้มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว  สังคมจะอยู่ด้วยกันอย่างอบอุ่น ร่มเย็น เป็นสุขกันทั่วหน้า จะประกอบกิจการงานอะไร ก็จะประสบความสำเร็จ เจริญก้าวหน้า 

พระสูตรนี้อยู่ในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๒๕ ขุททนิกาย  ธรรมบท ข้อที่ ๑๙ หน้า ๓๖๒-๓๖๓.
ส่่วนในพระไตรปิฎกฉบับอื่น จะตั้งชื่อว่า โมทสูตร อยู่ในเล่มเดียวกัน  และอยู่คนละข้อ และคนละหน้า ดังที่นำมาเสนอไว้ต่อจากฉบับของ มหาจุฬาฯ  (มจร.) นี้

. สังฆสามัคคีสูตร
ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้สามัคคีกัน
[๑๙]    แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เกิดขึ้นเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมอย่างหนึ่ง  คืออะไร
คือ  สังฆสามัคคี
ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ย่อมไม่มีความบาดหมางกัน ไม่มีการข่มขู่กัน ไม่มีการด่าว่ากัน และไม่มีการขับไล่กัน ในเพราะความสามัคคีของสงฆ์นั้น ชนทั้งหลายที่ยังไม่เลื่อมใส ก็เลื่อมใส ส่วนชนทั้งหลายที่เลื่อมใสแล้ว ก็เลื่อมใส         ยิ่ง ๆ ขึ้นไปŽ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว  ในพระสูตรนั้น  จึงตรัส               คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ความสามัคคีแห่งสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิดสุข
และบุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ผู้สามัคคีกันแล้ว
ผู้ยินดีในความสามัคคีกัน ตั้งอยู่ในธรรม
ย่อมไม่พลาดจากธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป เพราะสมานสงฆ์ให้สามัคคีกัน๑
แม้เนื้อความนี้  พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สังฆสามัคคีสูตรที่ ๙ จบ
๙. โมทสูตร
               [๑๙๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็น
อันมาก เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ สังฆสามัคคี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์พร้อม
เพรียงกันอยู่ย่อมไม่มีการบาดหมางซึ่งกันและกัน ไม่มีการบริภาษซึ่งกันและกัน ไม่มีการ
ขับไล่ซึ่งกันและกัน ในเพราะสังฆสามัคคีนั้น ชนทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส
และชนผู้เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป ฯ
        พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา
ประพันธ์ดังนี้ว่า
        ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข และการอนุเคราะห์ซึ่งหมู่ผู้พร้อม
        เพรียงกันให้เกิดสุข ผู้ยินดีแล้วในหมู่ผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม
        ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ผู้นั้นกระทำหมู่ให้พร้อมเพรียง
        กันแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ /๑๙๗/๑๗๐.
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิตอวุตตก-สุตตนิบาต - หน้าที่ ๑๗๐.

 นอก จากที่ปรากฏในพระสูตรนี้แล้วยัง ยังมีปรากฏเป็นข้อที่ ๒ ในจำนวน ๗ ข้อ ในมหาปรินิพพานสูตร  ตอนว่าด้วยภิกขุอปริหานิยธรรม ๗ ประการ ในพระสูตรนั้น  พระองค์ตรัสว่า ถ้าตราบใดที่พระภิกษุยังมีความสามัคคีกัน ทำกิจการต่าง ๆ ของสงฆ์อยู่ สงฆ์หมู่นั้น ๆ ก็จะมีแต่ความเจริญฝ่ายเดียวไม่มีความเสื่อม คือ ประชุมพร้อมกัน เลิกพร้อมกัน  เมื่อมีกิจของสงฆ์เกิดขึ้นก็ช่วยกันทำ  

มหาปรินิพพานสูตร ตอนว่าด้วย ภิกขุอปริหานิยธรรม  อยู่ในพระไตรปิฎกฉบับ มจร.  เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๑๓๖   หน้า ๘๑-๘๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น