เป็นธรรมเนียมของการจัดงาน เริ่มแรกก็มีการกล่าวเปิดงาน โดยคณบดี คือ อาจารย์เจ้าคุณ พระสุธีธรรมานุวัตร ผู้ที่ได้รับคำยกย่องว่าปฏิบัติหน้าที่ได้สมบูรณ์ที่สุด ไม่เคยขาด แม้จะมีงานนิมนต์ที่อื่นก็ต้องมาก่อนแล้วค่อยไป และถ้าจะต้องไปในระหว่างงานก็จะกลับมาให้ทันเวลาปิดอีก ถือว่า ท่านเอาใจใส่นิสิตจริง ๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นิสิตทั้งพระภิกษุและฆราวาส ให้ความรัก และเคารพท่านมาก
ประเดิมคนแรก คือ ผศ. เสริมศิริ อัครพุฒิพันธ์ หรือ พี่แดง ของน้อง ๆ ทั้งน้องพระและน้องโยม โยมพี่เขาเป็นคนอัธยาศัยดี จึงมีน้องเยอะมาก แถมโยมพี่เขายังเป็นคนใจบุญสุนทานอีกสมกับเป็นคนภาคเหนือ ถ้ามีงานเกี่ยวกับมหาจุฬาฯ ไม่ว่าจะเป็นงานอะไร โยมพี่เขาจะเป็นคนต้น ๆ ในการบริจาค ครั้งนี้ก็เหมือนกันหลังจากนำเสนอวิทยานิพนธ์จบ ก็ถวายเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) เพื่อตั้งเป็นกองทุนของบัณฑิตวิทยาลัย เอาไว้ใช้จ่ายเกี่ยวกับการสอบสาระ และวิทยานิพนธ์ของนิสิตทั้งหลาย เพราะถ้ารองบประมาณจากทางมหาวิทยาลัยก็จะช้า ทำให้นิสิตเสียเวลาคอย ในฐานะที่เป็นนิสิตรูปหนึ่งก็ขออนุโมทนาบุญด้วย ขอบุญส่วนนี้จงเป็นพลวปัจจัย อำนวยอวยชัยให้ผู้บริจาคและผู้ร่วมอโนทนาทุกท่าน ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน เทอญ.
เมื่อถวายเสร็จแล้วก็ถ่ายรูปหมู่ไว้เป็นที่ระลึก มีทั้งครูบาอาจารย์และเพื่อนนิสิตร่วมรุ่นทั้งพระและคฤหัสถ์
ไผเป็นไผ กะเบิ่งกันเอาเองเด้อ
ต่อจากโยมพี่แดงแล้ว ต่อมาก็เป็นคิวของอาจารย์เจ้าคุณ พระโสภณวิหารการ รองเจ้าคณะอำเภอเมือง หนองคาย จากวิทยาเขตขอนแก่น นำเสนอเรื่องพญานาค ในเบื้องต้นผู้เขียนคิดว่า เรื่องนี้คงจะไม่สนุกเท่าไหร่ แต่เหตุการณ์ตรงกันข้าม เรื่องนี้กลับทำให้บรรยากาศสนุกขึ้น คงเป็นเพราะองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาวิจารณ์ก็เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจริง ๆ คือเป็นผู้มีความรู้เรื่องนี้ดี ประกอบด้วย อาจารย์ผู้อาวุโส รศ. อุดม บัวศรี จาก มจร. วิทยาเขตขอนแก่น และ ดร. วุฒินันท์ กันทะเตียน ทั้งสองท่านวิจารณ์ได้สนุกมาก องค์ประกอบอีกอันหนึ่งก็คือ ผู้ดำเนินรายการ คือ ดร. นันทพล โรจนโกศล เพื่อนร่วมรุ่นของผู้เขียน ซึ่งเจ้าตัวปล่อยให้ผู้วิจารณ์ วิจารณ์เต็มที่ ไม่คำนึงถึงเวลาหรือกฏกติกามากนัก จึงทำให้บรรยากาศสบาย ๆ และก็เปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ตัวอย่างบางตอนของการแสดงความคิดเห็น "ทำไมพญานาคหรือบั้งไฟพญานาคจึงไปขึ้นเฉพาะในแม่น้ำโขง ไม่มาขึ้นในแม่น้ำเจ้าพระยาบ้าง" มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า "เพราะแม่น้ำเจ้าพระยามีครุฑเยอะ" ว่างั้น
อีกช็อทหนึ่งว่า "ที่อุบลคนไม่พูดถึงพญานาคเลย และบั้งไฟพญานาคก็ไม่ไปขึ้นแถวอุบล"
ได้รับคำตอบว่า "คนแถวหนองคาย นครพนม มีความเชื่อว่า พญานาคเป็นบรรพบุรุษของเขา กล่าวคือ เชื่อว่า เชื้อสายของพวกเขามีพญานาคเป็นบิดา มีมนุษย์เป็นมารดา"
อีกช็อทหนึ่งว่า "ที่อุบลคนไม่พูดถึงพญานาคเลย และบั้งไฟพญานาคก็ไม่ไปขึ้นแถวอุบล"
ได้รับคำตอบว่า "คนแถวหนองคาย นครพนม มีความเชื่อว่า พญานาคเป็นบรรพบุรุษของเขา กล่าวคือ เชื่อว่า เชื้อสายของพวกเขามีพญานาคเป็นบิดา มีมนุษย์เป็นมารดา"
หลังจากเรื่องพญานาคแล้วก็ถึงไฮไลท์ของงานวันนี้ ที่ว่าเป็นไฮไลท์ก็เพราะว่า ได้มวยถูกคู่ คือ ทัังผู้นำเสนอก็ไม่เบา ผู้มาวิจารณ์ก็ไม่ธรรมดา จัดอยู่ในระดับเซียนทั้งคู่ คือ นางสาวทัศนีย์ เจนวิถีสุข ผู้นำเสนอเสนอ มีดีกรี นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปัจจุบันก็เป็นอาจารย์วิชาการสื่อสาร ซึ่งตรงกับหัววิทยานิพนธ์ที่นำเสนอในวันนี้ ผู้วิจารณ์ประกอบด้วย อาจารย์เจ้าคุณพระเมธาวินัยรส คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จาก มหามกุฏฯ มมร. และ ผศ.ดร. ปาริชาติ สุวรรณบุปผา จาก มหาวิทยาลัยมหิดล ท่านแรก ได้ทั้งสาระและความมัน ท่านที่สองได้สาระล้วน ๆ
ชนิดที่ว่า ไม่เสียดายเวลาและค่าพาหนะที่สละไปฟัง โดยเฉพาะอาจารย์เจ้าคุณ ตามสไตล์ของท่านมีทั้งขู่ทั้งปลอบ ทั้งตบหัวและลูบหลัง และปล่อยมุขฮาเป็นระยะ ๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสนุกสนานไปด้วย ชนิดที่ว่าแต่ละคนกระพริบตาไม่ได้ เพราะมีอะไรดีๆ ออกมาอยู่เรื่อย ๆ
อาจารย์เจ้าคุณบอกว่า เมื่ออ่านงานชิ้นนี้แล้ว มีความหวังอยากทราบอยู่ ๖ เรื่อง แต่เมื่ออ่านแล้ว ได้ทราบเพียงสองเรื่อง อีก ๔ เรื่องไม่พบในงานนี้ (ข้อนี้ผู้วิจัยคงจะคิดอยู่ในใจว่า ก็อาจารย์ไม่คาดหวังในเรื่องที่โยมเขียน จะไปได้คำตอบอย่างไร)
อาจารย์เจ้าคุณบอกว่า เมื่ออ่านงานชิ้นนี้แล้ว มีความหวังอยากทราบอยู่ ๖ เรื่อง แต่เมื่ออ่านแล้ว ได้ทราบเพียงสองเรื่อง อีก ๔ เรื่องไม่พบในงานนี้ (ข้อนี้ผู้วิจัยคงจะคิดอยู่ในใจว่า ก็อาจารย์ไม่คาดหวังในเรื่องที่โยมเขียน จะไปได้คำตอบอย่างไร)
ภาพเพื่อน ๆ เข้าร่วมรับฟัง วันนี้ถือว่าบัณฑิตวิทยาลัย จัดงานประสบความสำเร็จ เพราะจำนวนผู้เข้าร่วมรับฟังหนาตาพอสมควร ส่วน ไผเป็นไผ ก็ดูเอาก็แล้วกัน เพราะบางท่านผู้เขียนก็จำชื่อไม่ได้เหมือนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น