วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประมวลภาพงานสัมมนารับฟังสาธารณดุษฎีนิพนธ์ ครั้งที่ ๔ /๒๕๕๕ ๑๙ กุมภาพันธ์



ที่เห็นกำลังนำเสนออยู่นี้คือ นายสุเมธ โสฬส (เสื้อขาว) นำเสนอเรื่อง "การศึกษาเครื่องมือจำแนกจริตที่เหมาะสมในการเจริญสติปัฏฐาน"  



ผู้เข้ารับฟังค่อนข้างหลอมแหลม ช่วงต้น ๆ มี ๒ สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้มีผู้รับฟังน้อย คือ วันนี้เป็นอาทิตย์ ทางโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ของ มจร. ก็เปิดเรียนตามปกติ ทำให้ไม่มีที่จอดรถ และเป็นวันหยุดด้วย หลายคนก็ให้เวลาแก่ครอบครัว 

พระมหาอุดร สิทฺธิญาโณ เพื่อน รุ่น ๕ ไปให้กำลังใจ 
วันนี้เพื่อนพระรุ่น ๕ เหลืออยู่ ๓ รูป ที่เหลืออีก ๓ รูป ติดกิจพระศาสนาที่ต่างจังหวัด 


อาจารย์ ดร. วีรชาติ  นิ่มอนงค์  จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ เอแบค กำลังวิจารณ์ วิทยานิพนธ์ของผู้เขียน  เรื่อง รูปแบบการพัฒนาสังขารเพื่อการพัฒนาปัญญาในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ท่านได้ให้แนวทางที่เป็นประโยชน์พอสมควร



ดร. อำนาจ ยอดทอง ป.เอก รุ่น ๔ เพิ่งจบไป ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร. ดวงกมล  ทองคณารักษ์  ป.เอก ภาคภาษาอังกฤษ  มาเป็นพิธีกร  ดำเนินการสัมมนาในวันนี้



นิสิตฆราวาสที่เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น  ที่กำลังแสดงความคิดเห็นอยู่คือ ผศ. เสริมศิริ หรือพี่แดง แนะนำวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนในส่วนที่เป็นการสังเคราะห์ให้เหมาะกับสังคมไทย ว่า น่าจะตัดออกเอาเฉพาะที่เป็นชาวพุทธก็พอ และถ้าตัดหัวข้ออกได้ก็อยากให้ตัดเพราะเรื่องลักษณะนี้ มหาวิทยาลัยข้างนอกเขาทำกันเยอะอยู่แล้ว


ดร.​แม่ชีกฤษณา  รักษาโฉม  อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย และเคยเป็นเพื่อนร่วมรุ่น ป.โท ของผู้เขียนด้วย เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสังขาร ที่จะพัฒนา ว่า ควรจะนำมาพัฒนามากกว่านี้ เช่น ปัญหาคอรับชั่น จะพัฒนาสังขารหมวด วิรตีเจตสิก อย่างเดียวไม่พอ 
ผู้วิจัยยังไม่ได้ตอบคำถาม อาจารย์ ผศ. ดร. รท. บรรจบ  บรรณรุจิ ผู้วิจารณ์ก็มาถึงพอดี 
แต่ถ้าจะตอบ  วิรตีเจตสิก ก็คือ ศีล นั่นเอง ถ้าทุกคนมีศีล รักษาศีลอย่างเคร่งครัดแล้ว รับรองว่า ปัญหาต่าง ๆ จะลดลงไปมาก



วันนี้โยมวรรษก็เข้าร่วมรับฟังด้วย (นั่งสุดท้าย สะพายกระเป๋า) ส่วนน้องแชมป์กำลังจดบ้นทึก อย่างจริงจัง  นิสิตหญิง (เสื้อขาว) แสดงความเห็นว่า พอเห็นชื่อเรื่องแล้วสนใจอยากมาฟังว่าจะเป็นอย่าง พอเห็นวัตถุประสงค์ และคำตอบวัตถุประสงค์ ข้อที่ ๑ และ ๒ ก็ยังน่าสนใจอยู่  พอเห็นคำตอบข้อที่ ๓ ตอนสังเคราะห์เพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสังคมไทย เลยใจห่อเลย ว่างั้น ความคาดหวังไว้ คือ อยากเห็นว่า จะพัฒนาสังขารเพื่อพัฒนาปัญญาไปสู่การบรรลุธรรมได้อย่างไร
ผู้วิจัยก็จนใจแหละที่ไม่สามารถทำตามที่คาดหวังไว้ได้ เพราะขอบเขตของการวิจัยไม่ได้ว่าเอาไว้ 

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น