วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

ลูกศิษย์ของหลวงพ่อใหญ่วัดพิช ปิดตาอ่านหนังสือ

หลากหลายวิธีสอนการฝึกสมาธิของหลวงพ่อใหญ่วัดพิช พระบวรปริยัติวิธาน หรือ สมณศักดิ์ที่จะได้รับโปรดเกล้าในราชทินนามชั้นราชที่ พระราชรัตโนบล ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่จะถึงนี้

เคล็ดลับการกระตุ้นการเรียนรู้

6กลิ่นหอมกระตุ้นการเรียนรู้

วันพฤหัสบดี ที่ 29 กันยายน 2554 เวลา 0:00 น
Bookmark and Share

อัศจรรย์! พลังกลิ่นหอมจากธรรมชาติ ช่วยจำดี มีสมาธิเปิดรับสิ่งใหม่ สร้างความจำระยะยาวช่วงหลับลึก

กลิ่นหอมจากดอกไม้ หรือพืชสมุนไพรบางชนิด นอกจากจะบำบัดจิตใจ เปลี่ยนความอ่อนระโหยโรยแรงกลับกลายเป็นความสดชื่นแล้ว ผลวิจัยในต่างประเทศยังพบว่า ขณะนอนหลับความจำจะถูกประสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของ
“กุหลาบ” สามารถกระตุ้นกระบวนการดังกล่าว ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ดีขึ้น

นอกจากกุหลาบแล้ว ยังมีอีก 5 กลิ่น ที่ให้ความหอมละมุนระหว่างวัน ช่วยเสริมพลังสมองเช่นกัน


โดย
“กลิ่นโรสแมรี่ และ เปปเปอร์มินท์” กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของการพูด ฟัง และมองเห็น ขจัดความรู้สึกเฉื่อยชา กระตือรือร้นต่อการเรียนรู้จดจำเรื่องราว และส่งเสริมให้ความจำดีขึ้น

“กลิ่นลาเวนเดอร์ มะนาว และส้ม”
กระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาท ช่วยลดความตึงเครียด วิตกกังวลน้อยลง

“กลิ่น” สามารถถ่ายทอดไปยังสมองได้เร็วกว่ากระแสประสาทชนิดอื่น จึงนิยมสกัด หรือแปรรูปจากดอกไม้-ส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพรข้างต้น แล้วนำความหอมอ่อน ๆ มาเป็นปัจจัยหนึ่งช่วยปรับอารมณ์-ความรู้สึกให้อยู่ระดับสมดุล พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่.

ทีมเดลินิวส์ออนไลน์

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

เคล็ดลับการถนอมสายตาหน้าคอมพิวเตอร์



       วิธีถนอมดวงตาหน้าคอมพิวเตอร์


พิมพ์ อีเมล
มุมสุขภาพ



เช็ค “ดวงตา” ถูกใช้งานอย่างหักโหมหรือไม่?!! พร้อมวิธีแก้ไขควรปฏิบัติ ช่วยถนอม “สายตา” ยามนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์

นัก ศึกษายุคไอทีที่ต้องหาข้อมูล ทำการบ้าน หรือพิมพ์รายงานผ่านคอมพิวเตอร์นานหลายชั่วโมง หากรู้สึกตาแห้ง แสบ พร่ามัว ปวดกระบอกตา หรือเห็นแสง-สีผิดจากปกติ นั่นเป็นสัญญาณของการจ้องจอคอมฯ นานเกินไป แม้ไม่อันตราย แต่บั่นทอนประสิทธิภาพการเรียนรู้ ดังนั้น เพื่อดวงตาคู่สวยทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพไปนาน ๆ จึงต้องหมั่นถนอมด้วยวิธีต่อไปนี้

1.จอคอมพิวเตอร์ควรห่างจากสายตา ประมาณ 1 ช่วงแขน และปรับจุดกึ่งกลางจอคอมฯ ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 20 องศา เป็นระยะที่ช่วยลดอาการเมื่อยเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ หลัง และคอได้

2.ปรับแสง และความคมชัดหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้รู้สึกสบายตา โดยไม่ต้องเพ่ง ควรพิจารณาแสงไฟในห้องด้วยว่า เมื่อส่องกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้ว จ้าเกินไปหรือไม่ เพราะจะทำให้ดวงตาเมื่อยล้า แห้ง และแสบได้ง่าย นอกจากนี้ ควรติดแผ่นกรองรังสี เพื่อลดการกระจายแสง

3.พักสายตาทุก 30 นาที โดยหลับตา หรือมองไปไกล ๆ ประมาณ 5 นาที อาจใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ประคบดวงตา ประมาณ 2-3 นาที จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา และทำให้เลือดหมุนเวียนมาเลี้ยงดวงตาได้ดี

4.ควรกระพริบตาให้บ่อย ขึ้น เพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา ช่วยลดอาการแสบตา ตาแห้ง และความอ่อนล้าของดวงตาได้ ทั้งนี้ ผลการวิจัยในต่างประเทศพบว่า การนั่งจ้องคอมฯ เป็นเวลานาน อัตราการกระพริบตาจะลดลงโดยไม่รู้ตัว ถึงร้อยละ 60

5.สำหรับคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ มักตาแห้งได้ง่าย กรณีนี้การหยอดน้ำตาเทียมจะช่วยบรรเทาอาการปวด และแสบตาได้ แต่ควรใช้เมื่อมีอาการ

6.ทำความสะอาดหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เพราะฝุ่นที่หนาจะทำให้แสงสะท้อนเข้าตาได้มากขึ้น

แม้การใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยจ้องจอคอมพิวเตอร์ ไม่ ควรเกิน 4 ชั่วโมงต่อวัน จะเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยากสำหรับหนุ่ม-สาวยุคไอที แต่สามารถถนอมดวงตาได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีข้างต้น เพียงหมั่นปฏิบัติให้เป็นนิสัย เพื่อสายตาได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพนานที่สุด.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=651&contentID=154679

ชีวิตไม่ใช่ละคร

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

เลขสูตร ว่าด้วยบุคคลกับรอยขีด

เจริญสุข เจริญธรรม ญาติธรรมทั้งหลาย  หลังจากได้นำเสนอข่าวคราวที่ทำให้สลดใจผ่านไป ๒ เรื่อง ที่ผ่านมา อาจจะทำให้ญาติธรรมบางท่านเกิดความหดหู่ใจบ้าง หรือบางคนอาจจะรู้สึกเฉยๆ บ้าง แล้วแต่สภาพจิตใจของแต่ละคน สำหรับวันนี้ ได้นำเอาพระสูตร ที่ว่าด้วยบุคคลกับรอยขีด มาฝาก ใจความย่อในพระสูตรนี้มีว่า 
คนมักโกรธมี ๓ จำพวก คือ 
พวกที่ ๑ โกรธเป็นประจำ และโกรธนาน (ประเภทอนุรักษ์ความโกรธ)
พวกที่ ๒ โกรธเป็นประจำ แต่โกรธไม่นาน (พวกนี้บางครั้งก็ทำท่าตึงตังบ้างเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเกรงใจ ประเภทว่า ตัดไม้ข่มนาม)
พวกที่ ๓ ถึงจะโกรธ ก็ไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น แม้จะถูกด่า ถูกว่า ด้วยถ้อยคำหนักๆ ก็ยังเก็บอาการไว้ได้ แสดงอาการยิ้มแย้มแจ่มใสต่อผู้ว่ากล่าวนั้น (ถ้าเปรียบกับสุภาษิตโบราณก็บอกว่า เอาน้ำขุ่นไว้ใน เอาน้ำใสไว้นอก  มุ่งรักษามิตรภาพเป็นใหญ่)
พระสูตรนี้ชื่อว่า เลขสูตร (คำว่า เลข แปลว่า เขียน, ขีด) อยู่ในพระไตรปิฎก  ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม ๒๐ อังคุตตรนิกาย ข้อ ๑๓๓  เนื้อความเต็มของพระสูตรมีปรากฏตามที่นำเสนอข้างล่างนี้
๑๐. เลขสูตร

ว่าด้วยบุคคลกับรอยขีด
[๑๓๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
. บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน
. บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน
. บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ
บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธเป็นประจำ และความโกรธนั้นของเขาก็หมักหมม อยู่นาน รอยขีดบนแผ่นหิน ไม่ลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ย่อมติดอยู่นานแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน โกรธเป็นประจำ และความโกรธนั้นของเขา ก็หมักหมมอยู่นาน นี้เรียกว่า บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน
บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน เป็นอย่างไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธเป็นประจำ แต่ความโกรธนั้นของเขาไม่หมักหมม อยู่นาน รอยขีดที่แผ่นดิน ย่อมลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ไม่ปรากฏอยู่นานแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน โกรธเป็นประจำ แต่ความโกรธนั้น ของเขาไม่หมักหมมอยู่นาน นี้เรียกว่า บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีที่แผ่นดิน
บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้แม้จะถูกว่าด้วยคำหนัก ๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบ แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่น่าพอใจ ก็ยังสมานไมตรีกลมเกลียวอยู่ ปรองดองกันอยู่ รอยขีดที่น้ำย่อมขาดหายไปเร็ว ไม่ปรากฏอยู่นานแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะถูกว่าด้วยคำหนัก ๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบ แม้จะถูกว่า ด้วยคำที่ไม่น่าพอใจก็ยังสมานไมตรีกลมเกลียวอยู่ ปรองดองกันอยู่ได้ นี้เรียกว่า บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
เลขสูตรที่ ๑๐ จบ

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

โศกนาฏกรรมทางอากาศ

บุ๊ดด้าแอร์ตก-ตายยกลำ !





BUDDHA AIR
สายการบินนำเที่ยวป่าหิมพานต์







สภาพของตัวเครื่องที่ค้นพบ





บินทัวร์เอเวอเรสต์ตกตายยกลำ

เครื่องบินพาชมภูเขาเอเวอเรสต์ตกผู้โดยสารตายยกลำ 19 ศพ จุดเกิดเหตุพบชิ้นส่วนมนุษย์กระจัดกระจาย

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า เกิดเหตุเครื่องบินเล็ก บุดดา แอร์-103 บีชคราฟ นำนักท่องเที่ยวไปชมความสวยงามของยอดเขาเอเวอเรสต์ตก บริเวณภูเขาใกล้กับกรุงกาฎมัณฑุของเนปาล เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา พบผู้เสียชีวิตรวม 19 คน ในจำนวนนี้ เป็นชาวอินเดีย 10 คน อีก 3 คน เป็นชาวต่างชาติ

นายบิมเลช ลัล คาร์น่า ผู้อำนวยการฝ่ายกู้ภัยของสนามบินนานาชาติ ตรีภูวัน เปิดเผยว่า เครื่องบินลำนี้ เพิ่งจะกลับจากบินชมภูเขา ตอนที่ตกในบริเวณเทือกเขาในกอตตาดา ทำให้คนบนเครื่องเสียชีวิตทั้งหมด

เจ้าหน้าที่สนามบิน ระบุว่า เครื่องบินได้ขาดการติดต่อไปเมื่อเวลา 07.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือราว 08.45 น. ตามเวลาในไทย ก่อนจะบินชนภูเขาในอีกไม่กี่นาที

สถานีโทรทัศน์ อะเวนิว เทเลวิชั่น ของเนปาล ได้รายงานอ้างผู้เห็นเหตุการณ์ว่า เห็นเปลวเพลิงที่เครื่องบิน ก่อนจะตก และต้องเดินขึ้นเขาราว 1 ชั่วโมงครึ่ง จึงไปถึงจุดที่เครื่องบินตก และเห็นชิ้นส่วนมนุษย์กระจัดกระจาย

บุดดา แอร์ เป็นสายการบินเอกชน มีสำนักงานอยู่ที่กาฎมัณฑุ เสนอแพ็คเกตการเที่ยมชมยอดเขา เอเวอเรสต์ มูลค่า 8,240 รูปีต่อหัว หรือราว 4,200 บาท และระบุในเว็บไซท์ด้วยว่า เครื่องบินชนิดนี้ถือว่าปลอดภัยที่สุดที่ให้บริการในประเทศ

นำมาจาก อลิตเติ้ลบุ๊ดด้ะดอทคอม
ข่าว : โพสต์ทูเดย์-Hindustan Times
2
6 กันยายน 2554

พระทิเบต เผาตัวตาย ประท้วงจีน

เผาตัวเอง !
พระทิเบตประท้วงจีนถึงเอาชีวิตเข้าแลก






พระทิเบต 2 รูป ก่อเหตุจุดไฟเผาตัวเอง เพื่อประท้วงรัฐบาลจีนที่ควบคุมพุทธวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์อย่างเข้มงวด และเรียกร้องเสรีภาพทางศาสนา...

องค์กรทิเบตเสรี (ฟรี ทิเบต) มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงลอนดอน ของอังกฤษ รายงานเมื่อ 26 ก.ย. ว่า พระทิเบต 2 รูป ช่ือล็อบซัง เคลซัง และล็อบซัง คอนช็อค อายุราว 18-19 ปี ทั้งคู่ก่อเหตุจุดไฟเผาตัวเองที่วัดเคอร์ติในเมืองอะปา มณฑลเสฉวนของจีน เมื่อ 26 ก.ย. เพื่อประท้วงรัฐบาลจีนที่ควบคุมพุทธวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ทิเบตอย่างเข้มงวด และเรียกร้องเสรีภาพทางศาสนา ทั้งคู่ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล และสำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่าอาการปลอดภัยแล้ว โดยล็อบซัง เคลซัง เป็นน้องชายของพระทิเบตช่ือ ริกซิน พุนต์ซ็อก วัย 21 ปี ซึ่งจุดไฟเผาตัวเองประท้วงจีนจนเสียชีวิตเมื่อ 16 มี.ค. ปีนี้

ในวันเดียวกัน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงย้ำว่า องค์ดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญานของทิเบตองค์ปัจจุบัน ไม่มีสิทธิ์เลือกผู้ดำรงตำแหน่งดาไล ลามะ องค์ต่อไป แต่รัฐบาลจีนจะเป็นผู้เลือก หลังจากเมื่อ 24 ก.ย. องค์ดาไล ลามะ ตรัสว่า ถ้าพระองค์ต้องกลับชาติมาเกิดใหม่ พระองค์จะเขียนคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรไว้เกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าว.



 
Tibetan monk burns himself to death in protest against Chinese rule

A Tibetan Buddhist monk has burned himself to death in western China, triggering a street protest against government controls, according to a group campaigning for Tibetan self-rule.

Phuntsog, 21, was a monk in Aba, a mainly ethnic Tibetan part of Sichuan province that erupted in defiance against Chinese control three years ago. The monk "immolated himself in protest against the crackdown", said Kate Saunders of the International Campaign for Tibet, a London-based organisation.

The self-immolation and subsequent demonstrations mirror the protests that gripped Tibetan areas of China in March 2008 when Buddhist monks and other Tibetans loyal to the exiled Dalai Lama confronted police and troops.

"[Phuntsog] shouted some slogans about freedom when he did it," said Zorgyi, a researcher for the organisation, who like many exiled Tibetans lives in northern India. "We've also received widespread information about a protest with nearly 1,000 monks and lay people that came after." Police moved in to suppress the protest and arrested several monks, Zorgyi said.

Repeated calls to police and government offices in Aba were not answered. One person who answered the phone said: "Nothing is wrong."

The 2008 protests in Lhasa, Tibet's main city, were suppressed by police and turned violent. Rioters torched shops and attacked residents. At least 19 people died – most of them Han Chinese, who are seen by many Tibetans as intruders threatening their culture. Pro-Tibet groups abroad say more than 200 people were killed in the subsequent crackdown.


 นำมาจาก  อลิตเติ้ลบุ๊ดด้ะดอทคอม
ข่าว : ไทยรัฐ-Guardian.uk
27
กันยายน 2554

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

โลณผลสูตร ว่าด้วยผลกรรมกับก้อนเกลือ

วันนี้ถือเป็นวันมงคล ที่ได้สร้างบล็อกใหม่ขึ้นมาอีกอันหนึ่งเพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสานส์แก่ญาติธรรมทั้งหลาย ชื่อบล็อกว่า ลานบุญวัดดอนทอง Watdontong ญาติธรรมผู้สนใจอยากแวะเข้าไปเยี่ยมชมก็เขียนชื่อบล็อกข้างบนนี้ก็จะสามารถเข้าชมได้

ในโอกาสนี้จึงนำเอาธรรมะจากพระสูตรมาให้กัลยาณมิตรทั้งหลายได้อ่าน  เพื่อประดับสติปัญญา เป็นการบำเพ็ญปัญญาบารมี อีกทางหนึ่ง พระสูตรนี้มีชื่อว่า

โลณผลสูตร ว่าด้วยผลกรรมกับก้อนเกลือ

สรุป ความย่อว่า บางคนในโลกนี้ ทำบาปนิดหน่อยก็ตกนรก  เพราะมีบุญน้อย  เปรียบเหมือน เอาเกลือก้อนหนึ่งใส่ลงในแก้วน้ำ เพราะน้ำในแก้วมีน้อย จึงทำให้น้ำเค็ม บางคนทำบาปนิดหน่อยไม่ตกนรก เพราะมีบุญมาก เปรียบเหมือนเอาก้อนเกลือใส่ลงในแม่น้ำ เพราะน้ำมีมาก เกลือจึงไม่สามารถทำให้น้ำเค็มได้

คติสอนใจจากพระสูตรนี้ คือ พยายามทำบุญไว้ให้มากๆ บาปจึงจะให้ผลไม่ได้

พระสูตรนี้ อยู่ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๒๐ ข้อ ๑๐๑ หน้า ๓๓๖-๓๔๑ อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต เนื้อความเต็มของพระสูตรมีดังนี้

. โลณผลสูตร

ว่าด้วยผลกรรมกับก้อนเกลือ

[๑๐๑] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ทำกรรมไว้อย่างใด ๆ เขาต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้น ๆเมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อม มีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้

ว่า บุคคลนี้ทำกรรมที่ต้องเสวยผลไว้อย่างใด ๆ เขาต้องเสวยผลของกรรมนั้น อย่าง

นั้น ๆเมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย เช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ (ชาติหน้า)๑ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก

บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือ บุคคลเช่นไร

คือ บุคคล๑บางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย๒ ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้

บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญา๓แล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่๔ เป็นอัปปมาณวิหารี๕ บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน

อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษใส่ก้อนเกลือลงในขันใบน้อย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร น้ำในขันเล็กน้อยนั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่หรือไม่

อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะในขันน้ำมีน้ำนิดหน่อย น้ำนั้นจึงเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้น พระพุทธเจ้าข้า

บุคคลใส่ก้อนเกลือลงในแม่น้ำคงคา เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร แม่น้ำ คงคานั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่หรือไม่

ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะในแม่น้ำคงคานั้นมีห้วงน้ำใหญ่ น้ำนั้นจึงไม่เค็ม ดื่มกินได้เพราะก้อนเกลือโน้น พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือน กันแล ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคล บางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก

บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือบุคคลเช่นไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้

บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคล เช่นไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพ ที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก ()

บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะ ทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง ส่วนบุคคลบาง

คนในโลกนี้ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่ง กหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง

บุคคลที่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่ง กหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง คือบุคคลเช่นไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ขัดสน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย บุคคลเช่นนี้ ย่อมถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ

บ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง

บุคคลที่ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง คือบุคคลเช่นไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก บุคคลเช่นนี้ ย่อมไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ บ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย เช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก

บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือบุคคลเช่นไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้แลทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้

บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว มี คุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก ()

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก

เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนสามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนา แต่บางคนไม่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนาได้

เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะที่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือ ทำตามที่ตนปรารถนาได้ คือเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร

คือ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้ขัดสน มีสมบัติน้อย มีโภคะ

น้อย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนาได้

เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะที่ไม่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือ ทำตามที่ตนปรารถนาได้ คือเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร

คือ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็นพระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ ไม่สามารถที่จะฆ่าจองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนา

ได้ แท้ที่จริง คนที่ประนมมือย่อมขอเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะได้ว่า ขอท่านจงให้แกะหรือทรัพย์ที่มีมูลค่าเท่ากับแกะแก่ฉันด้วยเถิดฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อยเช่น นั้นแล บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก

บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือบุคคลเช่นไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้แลทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้

บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน

อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก ()

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ทำกรรมไว้อย่างใด ๆ เขา จะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้น ๆเมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ทำกรรมที่ต้องเสวยผลไว้อย่างใด ๆ เขาต้องเสวยผลของกรรม

นั้นอย่างนั้น ๆเมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ

โลณผลสูตรที่ ๙ จบ
             

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ปโลกสูตร ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มนุษย์ในปัจจุบันมีจำนวนน้อย

              วันนี้นำเอาพระสูตรที่มีใจความเกี่ยวกับเหตุที่ทำให้มนุษย์บนโลกมีจำนวนน้อยลงกว่าสมัยก่อน  พระสูตรนี้เกิดจากที่พราหมณ์มหาศาลคนหนึ่งเข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นเพราะเหตุไร ทุกวันนี้มนุษย์จึงมีจำนวนน้อยลง  พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า เพราะเหตุ ๓ ประการ  คือ พวกมนุษย์ในปัจจุบันนี้

๑. ยินดีด้วยความยินดีที่ไม่ชอบธรรม
๒. ถูกความโลภที่ไม่สม่ำเสมอครอบงำ
๓. ประกอบด้วยธรรมผิด
 
จากเหตุทั้ง ๓ อย่างนี้ทำให้เกิดผล ๓ ประการติดตามมา คือ

๑. มนุษย์จับศาสตราวุธขึ้นเข่นฆ่ากัน ทำให้มนุษย์ล้มตายเป็นจำนวนมาก
๒. ทำให้ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ก่อให้เกิดความอดอยาก ข้าวยากหมากแพง เกิดเพลี้ย และหนอน 
    ชนิดต่างๆ กัดกินข้าวกล้า
๓. พวกยักษ์ปล่อยพวกอมนุษย์ที่ร้ายกาจไว้บนโลกมนุษย์ทำให้มนุษย์ล้มตายเป็นจำนวนมาก

พระสูตรนี้ชื่อว่า ปโลกสูตร อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๓๕

คติธรรมจากพระสูตร คือ 

ให้มนุษย์ยินดีพอใจในทางที่ถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรม 
ไม่โลภจนเกินไป 
และต้องประกอบด้วยธรรมที่ถูก โดยย่อ คือ ละทุจริต ประกอบสุจริต

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

อุฏฐานสูตร ว่าด้วยการลุกขึ้นทำความเพียร

วันนี้นำธรรมะจากอุฏฐานสูตร มาฝากญาติธรรมทั้งหลาย เนื้อหาของพระสูตรนี้อยู่ในรูปของคาถา ที่พระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ใจความก็คือพระองค์เตือนไม่ให้ประมาท ให้หมั่นทำความเพียรทางจิตใจเพื่อจะได้พ้นจากบ่วงของพญามาร
พระสูตรนี้อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต


๑๐. อุฏฐานสูตร
ว่าด้วยการลุกขึ้นนั่งสมาธิ
(พระผู้มีพระภาคตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายดังนี้)
[๓๓๔]           เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด๑ จงนั่งเถิด๒
          ความหลับจะมีประโยชน์อะไรแก่เธอทั้งหลาย
          ผู้เร่าร้อนด้วยโรคคือกิเลสมีประการต่าง ๆ
          ถูกลูกศรคือราคะเป็นต้นทิ่มแทงจนย่อยยับอยู่
[๓๓๕]           เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด
          จงบากบั่นขยันศึกษาปฏิบัติเพื่อบรรลุสันติธรรม๓กันเถิด
          อย่าให้มัจจุราชรู้ว่า เธอทั้งหลายมัวแต่ประมาทลุ่มหลง
          แล้วบังคับให้หลงใหลอยู่ในอำนาจเลย
[๓๓๖]           เธอทั้งหลายจงข้ามตัณหาที่ชื่อว่า วิสัตติกา
          ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์
          ผู้ยังมีความต้องการยึดติดอยู่
          ขณะอย่าได้ล่วงเลยเธอทั้งหลายไปเสีย๔
          เพราะเหล่าชนที่ปล่อยให้ขณะล่วงเลยไป
          ย่อมแออัดกันในนรก เศร้าโศกอยู่
[๓๓๗]          ความประมาทเป็นดุจธุลี
          ความประมาทที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็จัดเป็นดุจธุลี
          กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตควรถอนลูกศรคือกิเลสของตน
          ด้วยความไม่ประมาทและด้วยวิชชา
อุฏฐานสูตรที่ ๑๐ จบ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

โอกขาสูตร ว่าด้วยผลของการให้ทานและผลการเจริญเมตตาภาวนา



วัดดอนทองวรารามขอนำพระสูตรที่มีเนื้อหาสาระไม่ยากเกินไป ไม่ยาวเกินไปมาเสนอแก่ผู้สนใจ ที่แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมบล็อกของวัดดอนทอง พระสูตรนี้ชื่อว่า โอกขาสูตร ว่าด้วยการให้ทาน  อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เมื่ออ่านแล้ว จะให้เกิดปีติ อยากจะนำไปปฏิบัติตาม เพราะสามารถนำไปปฏิบัติได้และได้ผลจริง เพราะเป็นพระพุทธพจน์โดยตรง เปรียบเหมือนกับนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจัดยาที่ถูกกับโรคไว้เพื่อรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ขอเชิญอ่านเนื้อความเต็มของพระสูตรได้ ณ บัดนี้
. โอกขาสูตร ว่าด้วยการให้ทาน

[๒๒๖พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเช้า บุคคลใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเที่ยง บุคคลใดพึงให้ทาน ประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเย็น บุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเช้าอย่างน้อย เพียงขณะการหยดน้ำนมโค[1] บุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเที่ยงอย่างน้อยเพียง ขณะการหยดน้ำนมโค หรือบุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเย็นอย่างน้อยเพียงขณะการหยดน้ำนมโค การเจริญเมตตาจิตนี้มีผลมากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ๓ ครั้ง ในวันหนึ่งนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ จักทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดี เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้
โอกขาสูตรที่ ๔ จบ



[1] เพียงขณะการหยดน้ำนมโค ในที่นี้หมายถึงการรีดน้ำนมโคครั้งเดียว หรือการใช้นิ้วมือ ๒ นิ้วจับก้อนของหอมแล้วสูดดมครั้งเดียว (สํ.นิ.. /๒๒๖/๒๔๘)

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

อาณิสูตร ว่าด้วยลิ่ม

ได้อ่านพระสูตร ๆ หนึ่ง พออ่านพระสูตรนี้แล้วมีความรู้สึกสลดใจพอสมควร ใจความในพระสูตรนั้น พอสรุปใจความได้ว่า ต่อไปในอนาคต พวกภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคำสอนหรือพระสูตรที่พระพุทธ องค์แสดงไว้ดีแล้ว พอเหมาะพอควรต่อการนำไปปฏิบัติ และสามารถนำออกจากทุกข์ได้ แต่กลับไปสนใจศึกษาเล่าเรียน พระสูตรอื่นซึ่งไม่ใช่พระพุทธพจน์ที่นักกวี หรือนักปราชญ์สมัยใหม่เขียนไว้ด้วยถ้อยคำสละสลวย งดงาม เข้าใจยาก แต่ไม่สามารถนำออกจากทุกข์ได้

พออ่านแล้วก็มานั่งคิดว่า หรือว่า เรา ก็กำลังเป็น หนึ่ง ในจำนวนนั้นด้วยหรือเปล่า ที่มัวมาศึกษาแต่เรื่องยากๆ ศึกษาไปก็เครียดไป แล้วก็คิดปลอบใจตัวเองไป 

พระสูตรนี้ชื่อว่า อาณิสูตร ครับ ถ้ามีเวลาขอนิมนต์/เชิญอ่านดูเนื้อความเต็มๆ ได้ครับ



๗. อาณิสูตร
ว่าด้วยลิ่ม
[๒๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะ เมื่อตะโพนแตก พวกกษัตริย์ทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป ต่อมาไม้โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไปเหลือแต่โครงลิ่ม ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ในอนาคต เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุทั้งหลายจักไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่า ควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ฉันนั้น
แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญได้รจนาไว้ เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก[1] เป็นสาวกภาษิต[2] ภิกษุเหล่านั้นกลับตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และจักสำคัญธรรมว่า ควรเรียน ควรท่องจำ ให้ขึ้นใจ[3] ฉันใด แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ก็จักอันตรธานไป ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อผู้อื่น กล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วย ความว่าง เราทั้งหลายจักตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ความสำคัญธรรมว่า ควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้
อาณิสูตรที่ ๗ จบ


[1] อยู่ภายนอก หมายถึงภายนอกพระพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕)
[2] สาวกภาษิต หมายถึงภาษิตอันเหล่าสาวกของเจ้าลัทธิคนใดคนหนึ่งที่ไม่ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธสาวกได้ภาษิตไว้ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๘/๕๓)
[3] ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๔๘/๙๑-๙๒

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

งานวิจัยเกี่ยวกับคนเสื้อแดง ที่น่าสนใจและน่าติดตาม

 บล็อกของวัดดอนทอง นำเสนอรายงานการวิจัยนี้ ไม่มีความประสงค์จะให้ประชาชนชาวไทยแตกแยกกัน แต่เห็นว่าเนื้อหามีประโยชน์  ในงานวิจัยนี้ได้พูดถึงสาเหตุของการเกิดขึ้นของเสื้อแดง ที่น่าสนใจ  บางคนเคยเป็นเสื้อเหลืองแต่กลับมาเป็นเสื้อแดง  สรุปเหตุผลได้ว่า เพราะเกิดความไม่ยุติธรรมขึ้นในสังคม  สังคมไม่ทำตามกติกา ในงานวิจัยชิ้นนี้บอกว่า เครือข่ายเสื้อแดงขยายใหญ่โตกว่าที่คนชั้นปกครองคาดการณ์ไว้ 
เดิมที่มองว่า คนเสื้อแดงไม่มีการศึกษา  คำนี้คงใช้ไม่ได้อีก เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา สื่อต่างๆ ของเสื้อแดงได้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่สื่อของรัฐปกปิดไว้  เสื้อแดงมีแหล่งทุนที่สนับสนุนมั่นคงกว่ากลุ่มหรือสมัชชาอื่นๆ ในอดีตซึ่งกลุ่มต่างๆ ในอดีตอาศัยทุนจากนายทุน พรรคการเมือง เอ็นจีโอ เป็นต้น แต่กลุ่มเสื้อแดงมีแหล่งทุนมาจากการระดมทุนจากกลุ่มของพวกเขาเอง 
ที่สำคัญเสื้อแดงไม่ใช่ชนชั้นรากหญ้าอย่างเดียว  แต่เป็นการรวมกลุ่มของคนหลายชนชั้น ที่มีปัจจัยเป็นตัวเชื่อม ๒ ประเด็นหลัก คือ การเมือง และเศรษฐกิจ



อาจารย์มช.วิจัยเสื้อแดง-ชี้เป็นขบวนการข้ามชนชั้น


 หมายเหตุ : เว็บไซต์ประชาธรรม สถานีข่าวประชาชน เผยบทความงานวิจัยเรื่อง "พัฒนาการจิตสำนึกและปฏิบัติการทางการเมืองของขบวนการเสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่" โดยผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นข้อมูลวิจัยขบวนการเสื้อแดง มีเนื้อหาบางส่วนดังนี้

 เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการ 4 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการประชาธิปไตยท้องถิ่น และ Book Re:Public จัดเวทีวิชาการ  "ประสบการณ์ประชาธิปไตยของชาวบ้านเชียงใหม่"

ผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นำเสนองานวิจัยเรื่อง "พัฒนาการจิตสำนึกและปฏิบัติการทางการเมืองของขบวนการเสื้อแดงในจังหวัด เชียงใหม่" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งโครงการวิจัยโครงการใหญ่ที่ชื่อว่า "ความเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ทางการเมืองในชนบท" ประชาธรรมถอดความเรียบเรียงดังนี้..


"เวลา เรามองขบวนการเสื้อแดงเฉพาะในเชียงใหม่จังหวัดเดียวเราพบว่า มันไม่จริงที่เงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นตัวลากชาวบ้านเข้ามาร่วมกัน จากงานวิจัยเราพบว่า มันมีพหุลักษณ์ของเหตุผล และผูกสัมพันธ์กลุ่มชนชั้นต่างๆที่เข้ามาร่วมกันสร้างขบวนการ บางกลุ่มเป็นเหตุผลทางการเมืองหรืออุดมการณ์ บางกลุ่มเป็นเหตุผลทางเศรษฐกิจ"
ผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี
ขบวนการเสื้อแดงเป็นขบวนการที่น่าสนใจ ในแง่หนึ่งสมาชิกมีแหล่งกำเนิดมาจากชนบท แต่ขบวนการเสื้อแดงกลับไม่ได้เกาะเกี่ยวกันด้วยความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจของ ชนชั้นชาวนา เหมือนกับสหพันธ์ชาวไร่ชาวนาเมื่อทศวรรษ 2510 ขณะเดียวกันขบวนการนี้ก็ต่างไปจากขบวนการสมัชชาคนจน
นักวิชาการที่เขียนเรื่องขบวนการเสื้อแดง ส่วนใหญ่ก็เห็นพ้องต้องกันว่าขบวนการเสื้อแดงมีความสลับซับซ้อนและประกอบไป ด้วยกลุ่มคนหลายสถานะ หลากความคิดทางการเมือง ยากที่จะกำหนดด้วยเส้นแบ่งทางเศรษฐกิจ หรือกระทั่งความต่างระหว่างเมืองและชนบท
อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ และอาจารย์อรรถจักร สัตยานุรักษ์  เสนอ เรื่องแนวคิดชนชั้นกลางระดับล่างในเมืองและชนบท อ.ผาสุกและอ.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารก็เรียกขบวนการนี้ว่าเป็นกลุ่มที่ผสมกันระหว่างกลุ่มที่คัด ค้านรัฐประหารกับมวลชนผู้สนับสนุนทักษิณ อ.เกษียร เตชะพีระ ก็มองว่าขบวนการนี้เป็นแนวร่วมระหว่างชนชั้นรากหญ้าและชนชั้นนายทุนใหญ่ อ.ไคล์ (ชาร์ล ไคล์ (Charles Keyes)) ก็เรียกชาวชนบทที่เข้าร่วมขบวนการนี้ว่าเป็น "กลุ่มคนชนบทผู้เห็นโลกกว้าง" (cosmopolitan villagers) อ.วัฒนาก็เรียกคนเหล่านี้ว่าเป็นผู้ประกอบการทางการเมือง
มี หลายคนพยายามตั้งคำถามและหาคำอธิบายเกี่ยวกับขบวนการนี้ งานของเราก็พยายามทำอะไรแบบนั้นเหมือนกัน เรามีคำถามหลักอยู่ 3 คำถาม คือ 1.ขบวนการเสื้อแดงในเชียงใหม่ประกอบไปด้วยกลุ่มคนสถานะใด ก่อรูปขึ้นเป็นขบวนการเสื้อแดงได้อย่างไร และมีพัฒนาการเช่นไร(ที่เลือกศึกษาเสื้อแดงในเชียงใหม่เพราะว่าเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในเมืองหลวงของเสื้อแดง) 2.เงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองอะไร ที่มีอิทธิพลต่อการก่อรูปของจิตสำนึกทางการเมืองของพวกเขาเหล่านั้น จนนำไปสู่การตัดสินใจเข้าร่วมในปฏิบัติการทางการเมือง การสวมรับความเป็นแดงของพวกเขามีนัยยะเช่นไร สะท้อนตัวตนความเป็นพลเมืองที่ต่างไปจากเดิมอย่างไร และมีนัยยะที่เปลี่ยนแปลงไปจากการประทะทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร   3.สื่อ เสื้อแดงในระดับท้องถิ่น อาทิ วิทยุชุมชน มีบทบาทเช่นไรในการสร้างและขับเคลื่อนขบวนการเสื้อแดงในระดับท้องถิ่น ขบวนการนี้มีความแตกต่างจากขวนการก่อนหน้านี้ถ้าเทียบกับสหพันธ์ชาวไร่ชาวนา หรือสมัชชาคนจน เพราะมีการใช้สื่อค่อนข้างมาก มีสื่อเป็นของตัวเอง ด้วยความแตกต่างนี้มันทำให้ขบวนการนี้แตกต่างจากขบวนการอื่นอย่างไร
ความคิดกระแสหลักเกี่ยวกับคนเสื้อแดงสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มความคิดหลัก ความคิดแรกมองว่าเป็นชนชาวรากหญ้าที่มีการศึกษาต่ำ  เป็น ชาวชนบทที่จงรักภักดีต่อทักษิณ และถูกลากเข้าสู่การเมืองของชนชั้นนำ ทัศนะนี้สะท้อนความคิดของผู้ปกครอง ชนชั้นกลาง และนักวิชาการบางท่านก็มองเช่นนี้ คือมองว่าผู้นำตีกันแล้วลากชาวบ้านเข้ามายุ่งทางการเมือง
กลุ่มความคิดอันที่สอง มองจากฐานความคิดเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลัก คือมองว่า กลุ่มคนเหล่านี้เป็นชนชั้นกลางระดับล่างในชนบท ที่ชีวิตทางเศรษฐกิจนั้น "ปริ่มน้ำ" นโยบาย ไทยรักไทย ได้ช่วยให้คนเหล่านี้พ้นจากอาการปริ่มน้ำหรือความเสี่ยงได้ และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับพวกเขา เมื่อมีการรัฐประหารได้ทำลายโอกาสทางเศรษฐกิจอันนี้ พวกเขาจึงรวมตัวกันทวงสิทธิให้กับพรรคการเมืองของตนเองที่ได้เลือกขึ้นมา
ความ คิดทั้งสองแบบไม่ผิด แต่มันไม่พอ ความคิดที่ว่าผู้นำตีกันแล้วลากชาวบ้านเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ตนไม่มีความเห็นเพราะเป็นวิธีอธิบายความขัดแย้งในสังคมไทยที่มันดำเนินมา ตลอดช่วงสมัยอยู่แล้ว คือมองว่าประชาชนไม่มีสมองหรือปัญญาเป็นของตนเองที่จะวิเคราะห์การเมือง สามารถที่จะถูกลากมาประหนึ่งว่าเป็นวัวควาย จึงเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะไปโต้เถียงทางวิชาการ
ความคิดแบบที่สองอาจจะเป็นหลักคิดที่น่าสนใจกว่า คือ การมองว่าการวมตัวของกลุ่มคนรากหญ้าเหล่านี้ มีแรงผลักทางด้านเศรษฐกิจ  ซึ่ง เคยเถียงกับนักวิชาการหลายท่าน เพราะคิดว่ามันไม่พอที่จะนำมาใช้ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ของ ชนบททั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ผ่านมา พูดง่ายๆคือ การอธิบายแบบใช้เศรษฐกิจกำหนดนั้น ไม่ช่วยให้เข้าใจว่า ความคิดทางการเมืองของชาวบ้านเปลี่ยนไปอย่างไร และเพราะอะไร
งานวิจัยชิ้นนี้จึงพยายามอธิบายแบบกลับหัวกลับหาง คือแทนที่จะมองการเมืองจากด้านบนลงมา เราพยายามทำความเข้าใจในความขัดแย้งทางการเมืองจากฐานคิดของรากหญ้า ชาวบ้านที่เข้าร่วมขบวนการนี้เขาคิดอย่างไร ขบวนการนี้ต่างไปจากขบวนการทางสังคมอื่นในประวัติศาสตร์ก่อนหน้านี้อย่างไร บ้าง
ข้อค้นพบเบื้องต้นเราพบว่า ก็จริงที่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระบอบเลือกตั้ง (Election Politic)  มีผลอย่างยิ่งต่อจิตสำนึกทางการเมืองของประชาชนในชนบท ในหมู่บ้านที่เราศึกษา ทุกหมู่บ้านที่เราไป ในยุคก่อนไทยรักไทย ชาวบ้านไม่เคยคิดว่าการเลือกตั้งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และไม่คิดว่าการเลือกตั้งคือปริมณฑลทางการเมือง เป็นปริมณฑล(ทางการเมือง)ของคนกรุงเทพ ไม่เคยคิดว่าปริมณฑลของการเลือกตั้งจะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในชนบท
รัฐบาลไทยรักไทยสองสมัยได้เปลี่ยนความคิดนี้ แล้วก็ช่วยทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระบอบเลือกตั้งนั้นมีผลโดยตรงต่อสถานะทาง เศรษฐกิจ ตรงนี้เป็นตัวทำให้ชาวบ้านมองว่าสิทธิทางการเมืองจะนำมาซึ่งความมั่นคงทาง เศรษฐกิจในชนบท คือการเชื่อมโยงของสองอันนี้มันทำให้จิตสำนึกทางการเมืองของชาวบ้านในชนบท ปัจจุบันไม่ต่างไปจากสำนึกทางการเมืองของปัญญาชนหรือชนชั้นกลางทั่วไป แต่ก่อนเรามองว่าชาวบ้านนั้นไม่เข้าใจการเมืองในระบอบเลือกตั้ง หรือมองการเมืองในระบอบการเลือกตั้งห่างไกลจากชนบท ซึ่งแต่ก่อนนั้นอาจจะใช่ แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการมองแบบนี้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้อีก ต่อไป
เวลาเรามองขบวนการเสื้อแดงเฉพาะในเชียงใหม่จังหวัดเดียวเราพบว่า มันไม่จริงที่เงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นตัวลากชาวบ้านเข้ามาร่วมกัน จากงานวิจัยเราพบว่า มันมีพหุลักษณ์ของเหตุผล และผูกสัมพันธ์กลุ่มชนชั้นต่างๆที่เข้ามาร่วมกันสร้างขบวนการ บางกลุ่มเป็นเหตุผลทางการเมืองหรืออุดมการณ์ บางกลุ่มเป็นเหตุผลทางเศรษฐกิจ
จากคำบอกเล่าของแกนนำ เหตุผลการขึ้นมาค้านรัฐประหารของเสื้อแดงเชียงใหม่ไม่ใช่เพราะทักษิณ แต่เป็นเรื่องของการประกาศกฎอัยการศึกในเชียงใหม่ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจท่องเที่ยวตกต่ำ เมื่อกลุ่มแกนนำไปประท้วงกัน ทหารก็จับไปขัง นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ขบวนการต่อเนื่องตามมา
มันมีเหตุผลมากมายของผู้คนที่เข้ามาร่วมกับขบวนการเสื้อแดง ความหลากหลายเหตุนี้มันจึงน่าสนใจถ้าเทียบกับขบวนการเคลื่อนไหวของขบวนการ สังคมในยุคก่อนๆ  ขบวนการชาวนาชาวไร่ประเด็นคือค่าเช่านา ขบวนการของสมัชชาคนจน ประเด็นคือค้านโครงการขนาดใหญ่  เสื้อ แดงอาจจะเป็นขบวนการแรกในประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มี เหตุผลที่มากมายแต่สามารถที่จะเหลาประเด็นให้เป็นประเด็นเดียวกันได้ในเวลา ต่อมา
ขบวน การดังกล่าวมีความเป็นเอกเทศ และรวมตัวกันแบบหลวมๆ ซึ่งมันตรงกันข้ามกับคำอธิบายกระแสหลักที่ว่า เป็นประเด็นที่สั่งการมาจากศูนย์กลางที่กรุงเทพฯ เราพบจากการศึกษาว่า ขบวนการนี้รวมตัวกันแบบหลวมๆไม่มีใครสั่งใครได้ ถ้าเห็นพ้องกันว่าการเคลื่อนไหวมีเป้าหมายสำคัญก็รวมตัวกัน เป็นขบวนการแนวนอนเชื่อมโยงในรูปแบบเครือข่ายและพึ่งพาตัวเองในแง่ทุน เราพบว่า กลุ่มที่เรียกว่าเสื้อแดงในระดับอำเภอ หรือท้องถิ่น พัฒนายุทธศาสตร์อย่างหลากหลาย กล่าวคือ สมัชชาคนจนอาจจะได้ทุนมากมาย ส่วนหนึ่งมาจากการระดมทุน ส่วนหนึ่งเอ็นจีโอสนับสนุนทุนด้วย แต่ขบวนการของชาวบ้านเสื้อแดงพึ่งพาตัวเองในแง่จัดหาทุนค่อนข้างเติบโตและ เป็นตัวของตัวเอง
การ เกิดขึ้นของชมรมเสื้อแดงในแต่ละอำเภอมีโทนใหญ่มาจากกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 และนปช.เสื้อแดง ซึ่งแตกต่างจากขบวนการสังคมในอดีต เราพบว่าในขณะที่ขบวนการชาวไร่ชาวนา กลุ่มจัดตั้งหลักเป็นกลุ่มนักศึกษา หรือชนชั้นกลาง ปัญญาชนในเมือง ขบวนการสมัชชาคนจนกลุ่มที่จัดตั้งเป็นขบวนการเอ็นจีโอ ในขบวนการเสื้อแดงเราพบว่าชาวบ้านธรรมดาผันตัวเองขึ้นมาเป็นนักกิจกรรมชนบท ทำงานจัดตั้งกันเอง ทำงานสร้างเครือข่ายกันเอง ซึ่งเป็นมิติที่ไม่มีในขบวนการสังคมในอดีต
งานวิจัยยังพบอีกว่าสิ่งที่เรียกว่า อุดมการณ์ทางการเมืองของคนเสื้อแดงนั้น มีการเปลี่ยนผ่าน ไม่ได้เริ่มจากฐานความคิด ความเชื่อเดียวกัน (ตอนแรกเขาอาจจะคิดง่ายๆ ว่า เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ ) มีการเปลี่ยนผ่านสำคัญที่มีผลอย่างยิ่งต่อวิธีคิดของคนเสื้อแดงในการมองความ สัมพันธ์ของตนเองกับสถาบันต่างๆสองระลอก (จริงๆแล้วเปลี่ยนผ่านหลายระลอก) เหตุการณ์พฤษภา 53เป็นระลอกที่สำคัญ
การ ก่อตัวเริ่มหลังรัฐประหาร 2549 ความเชื่อที่ว่าคนเสื้อแดงเกิดขึ้นมาเป็นแขนขาพรรคไทยรักไทยเพื่อกลับมามี อำนาจอีกครั้ง ก็ไม่จริงทีเดียว หลังจากพรรคไทยรักไทยถูกโค่นใหม่ๆ ไม่มีปฏิบัติการทางการเมืองใดๆ จนกระทั่งมีรัฐประหารแล้ว มันเริ่มต้นจากในเมืองก่อนชนบท มีการก่อตัวของชนชั้นกลางในเมืองที่รวมตัวกันตั้งกลุ่มขึ้นมาแล้วค่อยๆขยาย ลงสู่ชนบท และเครื่องมือหรือกลไกสำคัญที่ใช้เป็นเครื่องมือของกลุ่มในระดับอำเภอคือ วิทยุชุมชน 92.5 MGH
นอก จากนี้เราพบว่าสมาชิกเสื้อแดงในระดับอำเภอมีความหลากหลายทางอาชีพมาก กลุ่มแดงดอยสะเก็ด มีประธานเป็นพ่อค้าในตลาดดอยสะเก็ด แกนนำของกลุ่มประกอบไปด้วย ครู นักธุรกิจท้องถิ่น ตำรวจ ทหาร ข้าราชการในอำเภอ เกษตรกร แรงงานรับจ้าง และแม่ค้า แม่บ้าน ซึ่งแทบจะเป็นทุกกลุ่มที่เป็นสมาชิกสังกัดสถานะทางสังคมทุกสถานะมันไม่ใช่ แค่เกษตรกรหรือชาวนารับจ้างอย่างเดียว
กรณีกลุ่มรักฝาง-แม่อาย-ไชยปราการ ก็เช่นเดียวกัน  แกนนำมาจากหลายหมู่เหล่า ทั้งผู้นำทางการของชุมชน อดีตสหาย กลุ่มครู  นักธุรกิจท้องถิ่น  โดยมีคหบดีท้องถิ่นเป็นประธานกลุ่ม
ในสันกำแพง กลุ่มสันกำแพงรักประชาธิปไตย กลุ่มหลักประกอบด้วยแม่ค้า และนักธุรกิจ
การ ยกกลุ่มหลากอาชีพเพื่อจะชี้ให้เห็นว่ามันเป็นขบวนการข้ามชนชั้น ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางอาชีพและทางสถานะอย่างยิ่ง แต่สามารถที่จะมารวมตัวกันภายใต้อุดมการณ์ร่วมเดียวกันได้ ซึ่งขบวนการแบบนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย เพราะคนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจต่างกันจะมีอุดมการณ์ทางการเมืองได้อย่างไร
คำ ถามใหญ่ซึ่งมักจะถูกถามอย่างยิ่งจากนักรัฐศาสตร์ คือเสื้อแดงนั้นสัมพันธ์อย่างไรกับพรรคการเมือง เราพบว่าพรรคการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคไทยรักไทยมีบทบาทสำคัญในขบวนการ เสื้อแดงอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่น่าสนใจในช่วงการก่อตัวในยุคแรก พรรคการเมืองหรือนปช.ส่วนกลางมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง หรือไม่ค่อยเข้ามาเกี่ยวข้องกับขบวนการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวของเสื้อแดงในระดับท้องถิ่นทำกันเอง พรรคการเมืองไม่ได้สนับสนุน แกนนำให้สัมภาษณ์ด้วยซ้ำไปว่า "อยากให้พรรคการเมืองท้องถิ่นสนับสนุน" แต่หลายส่วนค่อนข้างกลัวเพราะอยู่ในช่วงของการรัฐประหาร
เมื่อมีกิจกรรมขึ้นมาแล้ว พรรคการเมืองจึงเริ่มเข้ามาสัมพันธ์ด้วย แต่ความสัมพันธ์เป็นไปในเชิงเครือข่ายพันธมิตร พรรคการเมืองสนับสนุนเรื่องเงินบ้าง แต่ส่วนใหญ่มาจากการระดมทุนกันเอง  เป็นลักษณะของการเกื้อหนุนซึ่งกันและกันมวลชนที่เข้าร่วมกิจกรรม เป็นมวลชนที่เลือกพรรคเพื่อไทย
ประเด็นที่สองคือเรื่องการกลายเป็นแดง เสื้อแดงไม่ได้เป็นอัตลักษณ์ที่จะเป็นกันง่ายๆ ในช่วงหลายปีของการเข้าร่วมขบวนการ หรือกลายเป็นแดงค่อนข้างหลากหลายจนสร้างอัตลักษณ์ร่วมขึ้นมาได้ ในที่สุดก็ถามว่าความเป็นแดงคืออะไร ชาวบ้านนิยามในความหมายที่คล้ายๆกัน คือ "ตัวตนใหม่ของพลเมืองเสรีนิยม"
คำพูดของแกนนำนปช.จังหวัดเชียงใหม่คนหนึ่งในระดับชาวบ้านพูดชัด  --
"ผมว่าเรื่องที่เราต่อสู้ช่วงแรกเนี่ย ต้องถือว่าปัญหาเป็นหลักใหญ่ใจความก็คือว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็คือ ว่าอำนาจสูงสุดอยู่ที่ปวงชน ฉะนั้นนั่นหมายความว่าสามอำนาจต้องถูกเลือกจากประชาชน...แล้วทุกคนพูดถึง ระบอบ ถึงโครงสร้างตัวนั้นเนี่ย ผมบอกว่าตัวนั้นถ้าไม่ปรับตัวนะ ผมว่าพัฒนาการขับเคลื่อนทางสังคม ผมทายไว้ก่อนเลยนะครับ มิคสัญญีจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยล้านเปอร์เซ็นต์?ตราบใดสังคมนี้ไม่ได้ประชาธิปไตย หนึ่ง โครงสร้างไม่ปรับ สอง ยาก ผมบอกเลย ยาก ที่สังคมจะสงบนะครับ"
คำพูดของชาวบ้านสันทรายคองน้อย  อ.ฝาง จ. เชียงใหม่ก็น่าสนใจ โดยกล่าวว่ากระบวนการกลายเป็นแดงหรืออัตลักษณ์แดงมันไม่ได้คล้ายกับสมบัติ ที่ไปซื้อมาแล้วอยู่ๆ ก็เป็น แต่เห็นว่าผู้ขึ้นมามีอำนาจไม่ทำตามกติกาจึงกลายมาเป็นแดงคนเสื้อแดงบางส่วน กลายเป็นแดงด้วยเหตุผลนี้
"แต่ก่อนน่ะเหรอ เมื่อก่อนเป็นสีเหลืองน่ะสิ เมื่อก่อนนี้ก็เป็นเสื้อเหลือง อนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม  พวก นี้ ในป่า ในอะไรพวกนี้ แล้วที่นี้เรื่องที่เป็นเสื้อแดงก็หมายถึงว่า ความไม่ยุติธรรม หมายความว่า กติกาคนเราจะต้องมีกติกาใช่ไหม กติกาก็หมายถึงสัญญา แล้วทีนี้ รัฐบาลมันไม่ทำตามสัญญาเราใช่ไหม ไม่ทำตามสัญญา ก็หมายความว่า ไปละเมิดข้อสัญญาเรา ไม่มีการเลือกตั้งขึ้นมา มีการไปแต่งตั้งขึ้นมา ไม่มีการเลือก แต่งตั้งแล้วเอาอภิสิทธิ์เป็นนายก อันนี้คือประชาชนเราไม่ได้เลือกตั้งขึ้นมา อันนี้หมายความว่าไม่ทำตามกติกา เหมือนกับชาวบ้านเราเหมือนกันน่ะ เมื่อมีการประชุม เราก็จะมีการกติกานะ ให้ทำตามแบบนี้ แล้วที่นี้ ทางรัฐบาลไม่ยอมทำตามกติกาเรา  ตาก็เลยเริ่ม เออ ความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นมา ก็เลยเป็นเสื้อแดง เป็นเสื้อแดงแบบนี้แหละครับ"
อันนี้คือสิ่งที่พยายามจะแยกให้เห็นว่า แม้ว่าจะเป็นพันธมิตรของพรรคการเมือง คือ พรรคเพื่อไทย แต่ก็ไม่ได้เป็นแขนขา ดังตัวอย่างคำพูดของแกนนำนปช.อำเภอดอยสะเก็ดที่ให้สัมภาษณ์ก่อนการเลือกตั้ง ว่า "แต่ ถ้าสมมติว่าพรรคที่ได้รับเลือกมาเป็นพรรคเพื่อไทย เป็นรัฐบาลนะครับ แล้วทำไม่ดี ทำห่วยยิ่งกว่าพรรคประชาธิปัตย์ เราก็จะจัดการคนของเราเองนะครับ อันนี้ก็จองกฐินไว้ล่วงหน้าเลย กลุ่มของเราชนะแล้วไม่ใช่จะเลิก" ซึ่งสะท้อนให้เห็น ว่า เป็นกระบวนการตามกติกาของระบอบการเลือกตั้งที่ ถ้าพรรคการเมืองไม่ทำตามนโยบายที่ได้รับปากไว้ ประชาชนก็มีสิทธิที่จะกดดันเรียกร้องให้เปลี่ยนพรรคการเมือง
มี คำสองคำที่พูดในขบวนการเสื้อแดงมาก คือ ความเป็นแดง กับความเป็นไพร่ ซึ่งเมื่อไปถามคนเสื้อแดงว่า เสื้อแดงคืออะไร ทุกคนก็จะตอบคล้ายกันว่า เสื้อแดงคือ คนที่รักความเป็นธรรม รักประชาธิปไตย เป็นผู้ที่รักความจริง
อัน สุดท้ายสำคัญมาก คือชาวบ้านมองสื่อกระแสหลัก และสิ่งที่รัฐพูดนั้นเป็นข้อมูลด้านเดียว เสื้อแดงเป็นผู้ที่จะมาเปิดข้อมูลอีกด้านหนึ่งให้โลกรู้ นี่เป็นที่มาว่า สื่อเสื้อแดงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะพยายามเปิดเผยความจริงด้านที่สังคมไทยปิด นี่เป็นอุดมการณ์ประชาธิปไตยทางการเมือง
ส่วนความเป็นไพร่สะท้อนความเป็นพลเมืองชั้นสองภายใต้ความสัมพันธ์กับรัฐไทย  แต่ พอผ่านการเลือกตั้งมาก็ไม่แน่ใจว่า วาทกรรมอันนี้จะเปลี่ยนไปอย่างไร ก่อนการเลือกตั้งวาทกรรมนี้เป็นวาทกรรมใหญ่ ซึ่งนิยามให้เห็นว่า แม้เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศแต่เป็นแค่พลเมืองชั้นสอง ไม่ว่าทำอะไรรัฐไม่เคยรับรู้ และพยายามกดทับอยู่ตลอดเวลา
ความเป็นแดงและความเป็นไพร่ เป็นอัตลักษณ์ร่วม ไม่ว่าจะเป็นใครหรือว่าอยู่ชนชั้นไหน แต่ด้วยความเป็นผู้ที่รักความจริง รักประชาธิปไตย เป็นผู้ไม่มีอำนาจทางการเมืองในสังคมไทย  จึงกลายเป็นเสื้อแดง










  • ภาพ : ผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี