วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

ชาครสูตร พระสูตรนี้ อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค


. ชาครสูตร
ว่าด้วยความตื่น
[]      เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
เมื่อธรรมทั้งหลายตื่นอยู่ ธรรมประเภทไหนชื่อว่าหลับอยู่
เมื่อธรรมทั้งหลายหลับแล้ว ธรรมประเภทไหนชื่อว่าตื่นอยู่
บุคคลหมักหมมธุลีคือกิเลสเพราะธรรมประเภทไหน
บุคคลบริสุทธิ์เพราะธรรมประเภทไหน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เมื่ออินทรีย์ ๕ ตื่นอยู่ นิวรณ์ ๕ ชื่อว่าหลับอยู่
เมื่อนิวรณ์ ๕ หลับแล้ว อินทรีย์ ๕ ชื่อว่าตื่นอยู่
บุคคลหมักหมมธุลีคือกิเลสเพราะนิวรณ์ ๕
บุคคลบริสุทธิ์เพราะอินทรีย์ ๕

 พระพุทธพจน์จากพระสูตรนี้ ทำให้ทราบว่า อินทรีย์ ๕ ได้แก่
๑) สัทธินทรีย์ 
๒) วิริยินทรีย์  
๓) สตินทรีย์  
๔) สมาธินทรีย์  
๕) ปัญญินทรีย์  

อินทรีย์ แปลว่า ความเป็นใหญ่  สัทธินทรีย์ หมายถึง ความเป็นใหญ่เกี่ยวกับความเชื่อ คือ ถ้าเป็นความเชื่อ สัทธา จะเป็นใหญ่กว่าข้อธรรมอย่างอื่น  ที่มีความหมายว่า ความเชื่อเหมือนกัน 
อินทรีย์ทั้ง ๕ นี้ ถ้าได้รับากรพัฒนาถึงขั้นสูงสุดแล้ว สามารถทำให้มนุษย์บริสุทธิ์จากกิเลสได้ และกิเลส ๕ อย่าง หรือ นิวรณ์ ๕ อยางซึ่งแปลว่า เครื่องกั้นจิตไม่ให้ลุถึงความดีที่ต้องการ เหล่านี้ คือ 
๑) กามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ ๕ อย่าง ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส 
๒) พยาบาท ความอาฆาต ปองร้าย 
๓) ถีนมิทธะ ความเซื่องซึม หดหู่ ง่วงเหงา หาวนอน  
๔) อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ 
๕) วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย 
ถ้าถูกละได้หรือถูกทำลายไปจนหมดจากจิตใจ มนุษย์ก็เป็นอิสระ พ้นจากเครื่องพันธนาการทั้งหลาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น