วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตุรกีวิปโยค !
ธรณีพิโรธ 7.2 ริกเตอร์ เจ็บ-ตายหลายร้อย


















 

แผ่นดินไหวตุรกี 7.2 ริกเตอร์

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า นายกรัฐมนตรี เรเซฟ ตายยิป เออร์โดแกน ผู้นำตุรกี ออกมาแถลงยอดผู้เสียชีวิตล่าสุด จากเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ ขนาด 7.2 ริกเตอร์ เมื่อช่วงเย็นวานนี้ ตามเวลาประเทศไทยขณะนี้มี 138 ราย ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น 350คน

ด้านนายมุสตอฟา เออร์ดิค ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยแผ่นดินไหวคันดิลลีของตุรกี เผยว่า แผ่นดินไหวที่เมืองวานในครั้งนี้ อาจมีผู้เสียชีวิตประมาณ 500-1,000 คน

ทั้งนี้เมื่อเวลาประมาณ 03.45 น. ที่ผ่านมาตามเวลาประเทศไทย เกิดอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงถึง 6 ริกเตอร์ ครั้งนี้อยู่ใต้พื้นดินลึกแค่ 9.8 กม. ส่งผลให้ซากปรักหักพังได้พังถล่มลงมาซ้ำจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งแรก ทำให้ประชาชนที่ต่างยังอยู่ภาวะตื่นตกใจก็ต้องวิ่งหนีหาที่หลับภัยอย่างชุลมุน และเจ้าหน้าที่ก็ต้องหยุดการค้นหาไปชั่วคราว ขณะที่เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายของตุรกีได้กลับมาเร่งหาผู้รอดชีวิต และศพผู้เสียชีวิต

นักธรณีวิทยาตุรกีคาดว่า อาจมีผู้เสียชีวิตถึง1พันคนเนื่องจากจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ตื้นมาก ทำให้อาคาร บ้านเรือน พังถล่มลงมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชาชนแทบไม่ทันตั้งตัวหรือหลบหนีออกมาได้ทันจากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงถึง 7.2 ริกเตอร์ ในครั้งนี้.


จากอลิตเติ้ลบุ๊ดดะดอทคอม
ข่าว : โพสต์ทูเดย์
25 ตุลาคม 2554

 
 
สัญญาณอันตราย !
นกนางนวลตายเกลื่อนหาดออนทาริโอ
ลมหนาวกำลังมา เป็นสัญญาณว่าไข้หวัดนกจะรีเทิร์น


 



 

สื่อแคนาดาเผย พบนกตายเกลื่อนหาด คาดอาหารเป็นพิษ

สำนักข่าวของแคนาดารายงานว่า พบนกหลากชนิดจำนวนมากนอนตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ตามแนวชายหายของรัฐออนแทริโอ โดยตำรวจท้องที่คาดว่า นกดังกล่าวตายเพราะอาหารเป็นพิษ...

สำนักข่าวโทรอนโตสตาร์ ของประเทศแคนาดา รายงานเมื่อวันที่ 24 ต.ค. ว่า พบนกเป็ดน้ำ
, นกนางนวล และนกลูน จำนวน 5,000-6,000 ตัว นอนตายอยู่ตามแนวชายหาดจอร์เจียน เบย์ ในรัฐออนแทริโอ ประเทศแคนาดา เป็นระยะทาง 7.7 กิโลเมตร โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อว่า นกเหล่านี้ตายเนื่องจากเป็นโรคโบทูลิซึม จากการกินปลาที่ตายแล้ว

ด้านนายไมเคิล กราเวลล์ โฆษกรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของแคนาดา เผยว่า ในขณะนี้ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ได้เก็บตัวอย่างซากนกเพื่อนำไปพิสูจน์หาสาเหตุการตายที่แท้จริงแล้ว

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศเตือนว่า ผู้ปกครองของเด็กที่อาศัยอยู่ในละแวกนี้ ไม่ควรให้เด็กหรือสัตว์เลี้ยง สัมผัสกับซากนกดังกล่าว เพื่อป้องกันอันตราย แม้ว่าจากสถิติจะไม่เคยมีมนุษย์ป่วยเป็นโรคโบจทูลิซึม ซึ่งเกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า โคลสทริเดียม โบทูลินัม ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ในพื้นที่ดังกล่าวมาก่อนก็ตาม.
 

 จาก อลิตเติ้ลบุ๊ดดะดอทคอม
ข่าว : ไทยรัฐ
25 ตุลาคม 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น