วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติวัดดอนทอง

ประวัติวัดดอนทองวราราม



บ้านดอนหัน-ดงไทรทอง ตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์



**************



ภาพศาลาโบสถ์ ซึ่งปัจจุบันสร้างเสร็จแล้วจะทำพิธีฉลองในเดือนเมษายน ปี ๕๓ ที่จะถึงนี้

 

วัดดอนทองวราราม เริ่มดำเนินการสร้างเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยชาวบ้านดอนหันและชาวบ้านดงไทรทอง สร้างขึ้นบนที่ดินของญาติโยมช่วยกันบริจาคตามกำลังศรัทธา และซื้อเพิ่มเติม มีพื้นที่ประมาณ ๒๐ ไร่ ตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างบ้านดอนหันกับบ้านดงไทรทอง โดยมีพระมหาธานินทร์ อาทิตวโร เป็นผู้นำฝ่ายสงฆ์ มีการลงมือปราบพื้นที่เพื่อสร้างวัดก่อนหน้านี้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ แต่ที่กำหนดเอาวันที่ ๒๐ มีนาคม นี้เพราะกำหนดเอาวันแรกที่พระสงฆ์เข้าไปอยู่จำพรรษา ต่อมาจึงมีพระลือชัย ถาวโร (สังกัดธรรมยุตินิกาย) มาอยู่เป็นเพื่อน จากนั้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ หลวงปู่ทองดี อานนฺโท จึงมาสมทบอีก รวมเป็น ๓ รูป ในพรรษาแรกนี้ มีพระบวชเข้ามาเพิ่มอีก ๒ รูป คือ พระทองดี อายุโท หลวงปู่ออน โพธิกมล อยู่จำพรรษาด้วยกัน ๔ รูป ส่วนพระลือชัย ได้ขออนุญาตไปจำพรรษาที่อื่น


เหตุการณ์ก่อนการสร้างวัด


ได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันก่อนที่จะมีการสร้างวัดโดยแกนนำดังต่อไปนี้


การประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่บ้านนายสมชัย นางเสถียร ภูหนองโอง ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย



1. พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร

2. นายประเสริฐ พันธ์รักษ์

3. นายประเสริฐ สีหาภาค

4. นายเสาร์ ชมพูวิเศษ

5. นายคำไสย นิตุทอน

6. นายทองดำ ธรณี

7. นายสมชัย ภูหนองโอง

8. นางเสถียร ภูหนองโอง

9. นายนิยม ยุบลไสย


มติในที่ประชุมในวันนั้นคือ ขอบริจาคที่ดินจากเจ้าของที่ดินและให้นัดเจ้าของที่ดินมาประชุมกันอีกในวันที่ ๑๓ มีนาคม ที่บ้านนายสมชัย นางเสถียร เหมือนเดิม


มติที่ประชุมในครั้งที่ ๒


1. ให้สร้างวัดหรือสำนักสงฆ์นี้ขึ้นสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

2. นายเรียบ นางหนู จอมทรักษ์ ยินดีที่จะเปลี่ยนที่ดินกับที่ของนายสม นางทองอินทร์ ยุบลพาส

3. แม่ใหญ่จันดี แน่นอุดร ถวายที่ดินจำนวนครึ่งหนึ่งของที่ทั้งหมด

4. นางสมดี ยุบลพันธ์ ถวายที่ดินทั้งหมด

5. นางคำพูล ภารสถิตย์ ผู้รับมอบฉันทะจากแม่ชีทองสี ยุบลมาตย์ คำกมล ถวายที่ดินทั้งหมดแต่ขอต้นไม้ใหญ่ไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป


ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย


1. พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร

2. นายเรียบ จอมทรักษ์

3. นางหนู จอมทรักษ์

4. นายเสาร์ ชมพูวิเศษ

5. แม่จันดี แน่นอุดร

6. นางสมดี ยุบลพันธ์

7. นายคำไสย นิตุทอน

8. นายประเสริฐ สีหาภาค

9. นายประเสริฐ พันธ์รักษ์
                                                                                           หลวงปู่ทองดี  อานนฺโท ผู้ร่วมก่อตั้งวัด
10. นายทองดี ธรณี                           

11. นายสมชัย ภูหนองโอง

12. นางเสถียร ภูหนองโอง

13. นายไสว คำภีรสม

14. นางคำพูล คำกมล ภารสถิต

15. นางฟองจันทร์ โพธิกมล


มติที่ประชุมเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ (ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ )


1. พระลือชัย ถาวโร ยินดีจะมาช่วยสร้างวัดใหม่และจะเปลี่ยนมาสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

2. จะทำพิธีสังฆกรรมใหม่ ภายในเดือน ๖

3. ให้เจ้าอาวาสหรือประธานสงฆ์อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๕ ปี ถ้ามีความเหมาะสมสามารถได้รับแต่งตั้งในวาระที่ ๒ ติดต่อกันได้ แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกันแล้วเว้นวรรคหนึ่งวาระ คือ ๕ ปี จากนั้นถ้าคณะสงฆ์และญาติโยมเห็นว่า มีความเหมาะสมก็สามารถได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งได้อีก


ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย


1. พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร

2. พระลือชัย ถาวโร

3. นายบุญเที่ยง ยุบลวัฒน์ ผู้ใหญ่บ้านดอนหัน หมู่ที่ ๑๓

4. นายสมยศ ปองได้ (ส. อ.บ.ต. หมู่ที่ ๑๓)

5. นายเกษมณี โภคาเพชร (ส.อ.บ.ต. หมู่ที่ ๙)

6. นายทองสี ยุบลไสย (ส.อ.บ.ต. หมู่ที่ ๙)
                                                                                      หลวงปู่บุญเลิศ  ชุตินฺธโร  รักษาการเจ้าอาวาส ปัจจุบัน
7. นายออน โพธิกมล

8. นายอารีย์ หลาบศิริ

9. นายหนู นิตุทอน

10. นายไสว อ่อนธรรม

11. นายประสิทธิ์ โพธิกมล

12. นายอ่อน ฤทธิ์มนตรี

13. นายประเสริฐ พันธ์รักษ์

14. นายนิยม ยุบลไสย

15. นายทองดำ ธรณี

16. นางอำพร ยุบลแมน

17. นายเกษม ยุบลไสย

18. นายสมชัย ภูหนองโอง

19. นายเสาร์ ชมพูวิเศษ                                 หลวงปู่บุญเลิศ  ชุตินฺธโร  รักษาการเจ้าอาวาส (ปัจจุบัน)


หมายเหตุ พระลือชัย ถาวโร (ขันโอฬาร) เมื่อถึงวันที่จะทำพิธีสวดยัดใหม่ท่านขอเปลี่ยนใจว่าขออยู่อย่างเดิมเพราะยังชอบที่จะอยู่ตามป่ามากกว่าอยู่บ้าน


เหตุที่ได้ชื่อว่า วัดดอนทองวราราม


ในเบื้องต้นชาวบ้านได้ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า วัดดอนไทรงามวราราม เอาตามชื่อหมู่บ้านทั้ง ๓ หมู่บ้าน คือ บ้านโพนงาม บ้านดอนหัน และบ้านดงไทรทอง แต่เมื่อนำไปเสนอหลวงพ่อพระราชปริยัติเมธี (หลวงพ่อคูณ) วัดหนองแวง ขอนแก่น เพื่อจะนิมนต์ท่านมาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลาการเปรียญ (ต่อมามีมติจะทำเป็นอุโบสถในตัว) ท่านให้เหตุผลว่า คำว่า “ดอน” มันเล็กฟังแล้วไม่ค่อยเพราะเท่าไหร่ จึงตัดออกเหลือแต่ไทรงามวราราม ในตอนนั้นทุกคนก็เห็นด้วย เมื่อกำหนดวันวางศิลาฤกษ์ศาลาโบสถ์แล้ว (คือวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๔๕) คณะกรรมการที่ไปก็กลับบ้านส่วนอาตมาก็เดินทางเข้ากรุงเทพมหานครเพื่อติดต่อประสานงานต่อไป ในขณะที่นั่งอยู่บนรถทัวร์นั้น ข้าพเจ้าฉุกคิดขึ้นมาว่า ถ้าตั้งชื่อว่า วัดไทรงาม นี้ เกรงว่า ชาวบ้านดอนหัน ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักในการสร้างจะน้อยใจว่า ไม่มีคำว่า ดอนหันอยู่ในชื่อวัดเลย เกรงว่าจะเกิดความน้อยใจเหมือนกรณีชื่อโรงเรียนประจำหมู่บ้านที่ตั้งชื่อเฉพาะบ้านโพนงาม ว่า โรงเรียนโพนงามประสาทศิลป์ มีการพูดถึงอยู่บ่อย ๆ เพราะชาวบ้านดอนหันก็เข้าโรงเรียนที่เดียวกันจึงอยากจะมีชื่อบ้านของตัวเองปรากฏอยู่ด้วย พยายามจะเปลี่ยนว่า โรงเรียนโพนงามดอนหันประสาทศิลป์แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนสักที จนในที่สุดต้องเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนชุมชนโพนงามประสาทศิลป์ เมื่อคิดอย่างนี้พอไปถึงกรุงเทพฯ จึงตัดสินใจ โทรศัพท์มากราบเรียนหลวงพ่อให้ท่านเปลี่ยนชื่อให้ใหม่เป็นวัดดอนทองวราราม ซึ่งคำว่า “ดอน” หมายถึงบ้านดอนหัน คำว่า “ทอง” หมายถึงบ้านดงไทรทอง ท่านก็เมตตาเปลี่ยนให้ตามที่เสนอ



เหตุผลที่สร้างวัดใหม่

สาเหตุที่ชาวบ้านต้องสร้างวัดใหม่เพราะมีความจำเป็นหรือเป็นปัญหาอยู่ ๒ ประการ คือ ประการแรกชาวบ้านขาดที่พึ่งทางจิตใจมาเป็นเวลานานสิบกว่าปีเกือบยี่สิบปี สาเหตุคือ เจ้าอาวาสวัดดอนหันซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้านสร้างมาเกือบ ๒๐๐ ปี ท่านไม่ค่อยใส่ใจกับกิจวัตรของสงฆ์ติดการแข่งขันบั้งไฟ ใช้สถานที่วัดเป็นที่อัดบั้งไฟ และมีปฏิปทาที่ไม่น่าเลื่อมใสอย่างอื่นอีก ประการที่สอง คือ ผู้นำหมู่บ้านในตอนนั้นใช้อำนาจข่มขู่บังคับลูกบ้านที่ไม่ใช่กลุ่มของตนเองอย่างหนักมีปัญหาการบริหารงานไม่โปร่งใสเห็นแก่พวกพ้อง ปัญหาสองประการนี้มีความรุนแรงมากขึ้น ๆ ประกอบกับในช่วงนั้นมีการแยกหมู่บ้านเป็นสองหมู่แล้วเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านใหม่ พอแยกหมู่บ้านและได้ผู้นำคนใหม่แล้วชาวบ้านจึงคิดหาสถานที่สร้างวัดอีกแห่งหนึ่งเพื่อเป็นทางเลือกหรือเป็นที่พึ่งทางใจแก่ชาวบ้าน และจากปัญหาประการแรกนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ต้องเขียนไว้เป็นระเบียบของวัดว่าให้เจ้าอาวาสอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๕ ปี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอย่างเดิมอีก เพราะเมื่อเกิดปัญหาแล้ว คณะสงฆ์ไม่สามารถเข้ามาแก้ไขได้ เพราะไม่มีบทลงโทษที่จะให้เจ้าอาวาสออกจากตำแหน่งได้ ถึงจะมีกฏของมหาเถรสมาคมอยู่แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่สัมฤทธิ์ผล อีกสาเหตุหนึ่งคือ เมื่อได้เป็นเจ้าอาวาสนาน ๆ เข้า ก็มีพวกพ้องบริวารคอยสนับสนุนโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรม

อีกอย่างหนึ่ง กฎหมายหรือ พรบ. คณะสงฆ์ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคม ที่ให้เจ้าอาวาสอยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต เพราะวัดเป็นศูนย์รวมของสังคมโดยเฉพาะสังคมชนบทที่มีวัดแห่งเดียวและวัดนั้นในชุมชนนั้น ๆ ก็เกิดขึ้นจากความร่วมมือของชุมชน ดังนั้นการที่วัดเป็นของชุมชนแต่ให้กรรมสิทธิ์คนเพียงคนเดียวเป็นเจ้าอาวาสจึงปิดกั้นโอกาสคนอื่น ถ้าคน ๆ นั้นประพฤติอยู่ในศีลาจารวัตรที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ส่วนมากจะไม่เป็นเช่นนั้นและปัญหานี้ก็มีอยู่ทั่วราชอาณาจักรไทยทั้งในเมืองใหญ่และชนบท ผู้ที่น่าสง

สารที่สุดคือผู้ที่อยู่ตามชนบทเพราะไม่มีทางเลือก ถึงจะมีวัดอื่น อยู่ใกล้ ๆ แต่ก็ไม่สะดวกเพราะจะถูกกล่าวขานไปในทางที่เสียหายว่า วัดที่บ้านก็มีทำไมต้องไปทำบุญที่วัดอื่นอย่างนี้เป็นต้น ยิ่งจะทำให้เพิ่มความขัดแย้งมากขึ้น



ในการสร้างวัดดอนทองวรารามนี้ก็ถูกขัดขวางจากพวกมีอำนาจเหมือนกันเขาพยายามที่จะขัดขวางการสร้างวัดทุกวิถีทาง กล่าวคือ ผู้มีอำนาจทางสงฆ์ก็มีหนังสือไปถึงเจ้าคณะตำบลว่าชาวบ้านดอนหันหมู่ที่ ๑๓ บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ ฝ่ายผู้มีอำนาจทางบ้านเมืองคือผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗ ก็ทำหนังร้องเรียนถึงนายอำเภอว่าชาวบ้านบุกรุกที่สาธารณประโยชน์เหมือนกัน จนทางอำเภอมีหนังสือด่วนเรียกประชุมผู้ใหญ่บ้านกำนันและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๔๕ แต่ผลปรากฏว่ามติที่ประชุมสนับสนุนให้ดำเนินการสร้างต่อไป (ตามที่มีผู้มารายงานให้ทราบบอกว่า ผู้ที่เป็นเจ้าการฟ้องทั้ง ๓ คน ถูกผู้เข้าร่วมประชุมรุมว่าเอาจนหน้าจ๋อยไปไม่มีคำโต้แย้งได้แต่พูดแก้เก้อว่าทำหนังสือแจ้งให้ฝ่ายบ้านเมืองได้ทราบในฐานะอยู่ในเขตปกครองของตัวเอง แต่ก็มีผู้ท้วงอีกว่า ที่บริเวณตรงนั้นอยู่เขตพื้นที่ของหมู่ที่ ๙ จึงฟังไม่ขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเรื่องมันผ่านไปแล้วก็ไม่อยากท้าวความหลังจะเป็นการตอกย้ำแผลเดิมให้กว้างขึ้นเพียงแต่นำมาเล่าสู่กันฟังว่า ปัญหาอย่างนี้ได้เกิดขึ้นในสังคมและไม่สามารถแก้ไขได้จึงอยากให้เป็นอุทาหรณ์แก่อนุชนรุ่นหลังต่อไปให้พากันหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น ดีกว่าจะหาทางแก้ไขเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว และการจะแก้ไขได้ต้องใช้เวลาและมีความแตกแยกเกิดขึ้นในสังคมกว่าจะประสานกันได้ต้องใช้เวลานาน ทำให้การพัฒนาทุกด้านต้องหยุดชะงักสังคมได้รับความบอบช้ำ สถาบันเสียหาย ประชาชนเสียสุขภาพจิต เป็นการบั่นทองกำลังสติปัญญา) แต่ต้องให้มีพระสงฆ์ไปอยู่ด้วย จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ญาติโยมต้องนิมนต์ให้ข้าพเจ้าไปอยู่ประจำในช่วงที่มีการก่อสร้างและในปีแรกนี้ก็ได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น


การสร้างวัดครั้งนี้เหมือนกับเทวดาและฟ้าดินจะเป็นใจพอหลังจากที่ผ่านวิกฤตการฟ้องร้องแล้วทำให้ข่าวการสร้างวัดแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็วทุกคนก็อยากมาดูว่าสถานที่เป็นอย่างไร มีญาติโยมเกิดศรัทธาพากันมาร่วมสร้างกันมากมายโดยการช่วยกันบริจาควัสดุอุปกรณ์ตามแต่ใครจะสะดวกอะไร การก่อสร้างจึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว วันที่ทำการวางศิลาฤกษ์ศาลาโบสถ์นั้นบรรดาญาติโยมพากันมาอย่างหนาแน่นจำนวนหลายพันคน จากนั้นการก่อสร้างกุฏิพระสงฆ์ ก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ ในพรรษาแรกมีศาลาการเปรียญเล็กหนึ่งหลัง กุฏิพระสงฆ์อย่างถาวร ๓ หลัง หลังที่ ๔ สร้างเสร็จตอนออกพรรษาและถวายพร้อมกับวันทอดกฐินอุทิศให้นายสมบูรณ์ ยุบลพันธ์ เจ้าภาพกฐินคือนางคัมภีร์ ยุบลพันธ์ผู้เป็นภรรยา จากนั้นก็มีเจ้าภาพสร้างกุฏิทั้งของพระและแม่ชีเพิ่มขึ้นตามลำดับจนปัจจุบันปี ๒๕๕๐ มีกุฏิพระสงฆ์อย่างถาวรจำนวน ๑๑ หลัง ส่วนศาลาโบสถ์ปัจจัยที่ใช้ก่อสร้างส่วนมากได้มาจากกฐินและผ้าป่า และมีคุณคำผอง ศิริวิโรจน์สกุลเป็นเจ้าภาพกระเบื้องมุงหลังคาทั้งหมด จึงทำให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างรวดเร็ว


กิจกรรมที่ทางวัดจัดเป็นประจำทุกปีก็คือบรรพชาสามเณรและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน ต่อมาจึงได้จัดโครงการปฏิบัติเพื่อผู้ใหญ่ แต่ก็ยังรับเยาวชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการด้วย และงานประเพณีสงกรานต์ จะมีการแห่ขบวนนางสงกรานต์ซึ่งกิจกรรมนี้ได้กลายเป็นประเพณีประจำตำบลโพนงามแล้ว หมายความว่าทางสภาตำบลมีมติให้ชาวบ้านดอนหันหมู่ที่ ๑๓ จัดงานนี้โดยที่หมู่บ้านอื่นจะไม่จัดงานซ้อนกันอีก และแต่ละปีก็ประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจเพราะขบวนแห่แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมขบวนอย่างมากมาย รูปแบบของขบวนแห่ จะประกอบด้วยขบวนของพระประธาน ตามด้วยขบวนของพระภิกษุสามเณร จากนั้นก็เป็นขบวนของนางสงกรานต์ แล้วขั้นด้วยขบวนกลองยาวและดนตรีพื้นบ้านส่วนญาติโยมที่เข้าร่วมขบวนแห่ก็จะฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนานตามอัธยาศัย ถึงจุดที่มีน้ำมากก็จะเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน กิจกรรมอันนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เป็นกาวประสานใจของชาวบ้านทั้งสองหมู่ให้หันมาสามัคคีกันจนแทบจะสนิทเหมือนเดิม แต่เมื่อถึงคราวเลือกตั้งทีไรก็แตกเป็นสองกลุ่มอีกแต่ความรุนแรงจะลดน้อยลง จึงทำให้เห็นว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนี้มีทั้งผลดีและผลเสียอยู่ในตัว ทั้งที่รู้อยู่แต่ก็ยังหาวิธีอื่นมาทดแทนไม่ได้ ถ้าเราหันกลับไปมองระบอบประชาธิปไตยที่พระพุทธเจ้าวางไว้กับคณะสงฆ์จะเห็นความแตกต่างเล็กน้อย คือพระองค์ไม่แบ่งแยกชั้นวรรณะใครมาจากสังคมไหนเมื่อบวชแล้วมีฐานะและสิทธิเสมอกันหมด แต่ให้เคารพกันตามอาวุโส และหลักการนี้ก็มีการยกเว้นไว้ผู้อาวุโสนั้นถ้าไม่มีคุณสมบัติพอก็ให้คนอื่นที่เหมาะสมกว่าแทน เปิดโอกาสให้สงฆ์มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและลงมติ ให้ช่วยกิจการของสงฆ์และให้จัดวาระกันรับผิดชอบกิจของสงฆ์ไม่ให้ผูกขาดอยู่กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่การปฏิบัติทุกวันนี้ดูเหมือนจะตรงกันข้ามกับที่พระพุทธองค์ได้วางไว้ คณะสงฆ์ฝ่ายปกครองก็รู้แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะตัวเองก็ตกอยู่ในระบอบนี้มานานจนเคยชิน











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น