ประวัติความเป็นมาของบ้านดอนหัน
ที่ปรากฏตามคำบอกเล่าและแหล่งข้อมูล ชั้นหลังพอเชื่อถือเป็นหลักฐานได้บ้าง เช่น
หลักฐานในหนังสือประวัติบ้านโพนงาม ซึ่งรวบรวมโดยพระมหาภูธเนศ กิตฺติวํโส ลูกหลานบ้านโพนงาม
แต่ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร ระบุว่า ชาวบ้านดอนหัน
เป็นชนกลุ่มหนึ่งที่ติดตามกลุ่มของหลวงลายุบัณฑิต มาจากบ้านดงมะหรี่
(ในปัจจุบันหมู่บ้านดงมะหรี่ อยู่ในตำบลค้อวัง อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร
อยู่ห่างจากแม่น้ำชี ประมาณ ๔ กิโลเมตร หลักฐานตรงนี้พอเชื่อถือได้)
ขณะที่กลุ่มของหลวงลายุบัณฑิตซึ่งอพยพมาจากเมืองอุบล ผ่านมาทางนั้น
แล้วมาตั้งรกรากอยู่ด้วยกันที่บ้านโพนทา ต่อมากลุ่มที่มาจากบ้านดงมะหรี่
ได้ย้ายออกมาตั้งบ้านดอนหัน หลังจากเกิดเหตุการณ์โรคระบาดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๙๘
กลุ่มเดิมย้ายออกมาตั้งบ้านโพนงาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๐
(สันนิษฐานว่า ทั้งสองกลุ่มน่าจะปะปนกันอยู่ คงไม่ย้ายออกมาทั้งหมด
หมายความว่า กลุ่มเดิมอาจจะย้ายตามกลุ่มบ้านดงมะหรี่มาบ้าง
กลุ่มบ้านดงมะหรี่ก็น่าจะอยู่กับกลุ่มเดิมบ้าง)
กลุ่มเดิมมีผู้นำชัดเจนคือหลวงลายุบัณฑิต ส่วนกลุ่มที่ย้ายมาตั้งบ้านดอนหันไม่ปรากฏชื่อผู้นำชัดเจน
กาลเวลาผ่านไปจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๔ จึงมีหลักฐานว่า
นายบุญเพ็ง จอมทะรักษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น
และได้นำชาวบ้านสร้างวัดขึ้นในสมัยนั้น มีชื่อว่า วัดสว่างดอนหัน
(เดิมชื่อว่า วัดสว่างโสภา ตามชื่อของเจ้าอาวาส รูปแรก
แต่เมื่อขอตั้งวัดเป็นทางการ ทางฝ่ายบ้านเมืองตั้งให้ตามชื่อบ้านว่า
วัดสว่างดอนหัน) เลขที่ ๑๐๒ บ้านดอนหัน หมู่ที่
๗ ตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
มีเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๖๓ ตารางวา โดยมี เจ้าอาวาสถึง ๑๒
รูป (เจ้าอาวาสในสมัยนั้นมีทั้งที่ได้รับแต่งตั้งอย่างเป็นทางการมีตราตั้งถูกต้องตามกฎหมาย
และเป็นโดยการแต่งตั้งกันเองของชาวบ้านและคณะสงฆ์ จากการสอบถาม นายปราณี ยุบลมาตย์
อดีตพระสมุห์ปราณี สมาจาโร บอกว่า ที่เป็นเจ้าอาวาสมีตราตั้ง มี ๓ รูป คือ พระเกศ
ปู่เกศ พระผาย ปู่ผาย และท่าน ) และมีผู้ใหญ่บ้านจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
๑๓ คน
ลำดับเจ้าอาวาส[1]
๑. พระโส ไม่ทราบฉายา
๒. พระสิงห์ จารุวณฺโณ
๓. พระพิมพ์ คำกมล (ลาสิกขา)
๔. พระบุญเกิด อิสฺสโร (ลาสิกขา)
๕. พระบัวเรียน รตนวณฺโณ
(ลาสิกขา ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ที่บ้านโพนงาม หมู่ ๘)
๖. พระชารี อนุตฺตโร
โพธิกมล (ลาสิกขา)
๗. พระสมศรี สุจิตฺโต
โพธิกมล (รักษาการเจ้าอาวาส ย้ายไปวัดบ้านโนนสามัคคี ร่องคำ
ปัจจุบันอยู่ที่วัดป่าศรีสว่างธรรม)
๘. พระผาย ปวโร โพธิกมล
(มรณภาพ)
๙. พระสมุห์ปราณี
สมาจาโร ยุบลมาตย์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕
- ๒๕๕๓ (ลาสิกขา)
๑๐. พระอธิการไพฑูรย์
ธมฺมวโร นาสิงห์ทอง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ – ปัจจุบัน
๑๑.
ลำดับผู้ใหญ่บ้าน[2]
๑. นายเพ็ง จอมทรักษ์
๒. นายไข จอมทรักษ์
(อดีตสามีแม่ใหญ่จั้น ตาทวดของผู้เขียน)
๓. นายบุญมี โพธิกมล (พ่อของพ่อออน)
๔. นายสี จงดอนหัน
(มาจากบ้านโพนงาม)
๕. นายสิงห์ โพธิกมล
(พ่อของพ่อยิ่งยศ)
๖. นายพิมพ์ จอมทรักษ์
(น้องเมียนายสิงห์ โพธิกมล)
๗. นายสิงห์ โพธิกมล
(สมัยที่ ๒)
๘. นายบัว จอมทรักษ์
(ลูกชายพ่อใหญ่ก่ำ มาจากบ้านโพนงาม)
๙. นายทองไสย สร้อยเสนา ดำรงตำแหน่ง ๘ เดือน ก็เสียชีวิต
๑๐. นายจันทร์ จอมทรักษ์
(น้องชายนายบัว) ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๓๕
๑๑. นายพรมมา ยุบลพาส
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๔๑
๑๒. นายคูณ บุญสู่
สมัยแรก ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๗, สมัยที่สอง ๒๕๔๗-๒๕๕๒
๑๓. นายเสถียร จอมทรักษ์
ดำรงตำแหน่ง ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ - ปัจจุบัน
ปี พ.ศ.
๒๕๔๔ บ้านดอนหัน หมู่ที่ ๑๓ ได้แยกออกมาจากบ้านดอนหัน หมู่ที่ ๗ ตำบลโพนงาม
อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมี
นายบุญเที่ยง ยุบลวัฒน์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน,
นายประเสริฐ จอมทะรักษ์ และนายทอง
ทาระลัย เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ต่อมานายประเสริฐ
จอมทะรักษ์ ลาออกจากตำแหน่ง นางอำพร
ยุบลโชติ ได้รับตำแหน่งแทน ในปี พ.ศ.
๒๕๔๖, มี ส.อบต. ๒ คน คือ นายสมบูรณ์ จอมทะรักษ์ และนายสมยศ ปองได้ โดยมี
พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร
เป็นผู้นำพาคณะญาติพี่น้อง ทายก ทายิกา อุบาสก
อุบาสิกาชาวบ้านดอนหันร่วมกันสร้างวัดประจำหมู่บ้านขึ้นใหม่ มีชื่อว่า วัดดอนทอง และมี ดร.พระมหาวราทิต
อาทิตวโร. ป.ธ.๙. ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๑
จนถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้ใหญ่บ้านคนเก่าหมดวาระ (๕ ปี) มีการคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ คือ
นายถาวร สุไชยะ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๒ โดยมีนายพิเชษฐ์ จอมทะรักษ์ และนางประสิทธิ์
ผาสุจิตร เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
มี ส.อบต. ๒ คน คือ นายสมบูรณ์
จอมทะรักษ์ และนายสมยศ ปองได้
ต่อมานายถาวร สุไชยะ ได้ลาออกก่อนครบวาระ
๕ ปี เมื่อวันที่ ๑ กันยายน
๒๕๕๒ มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ได้ นายสมบูรณ์ จอมทะรักษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน นายพิเชษฐ์ จอมทะรักษ์ และนางอำภาภรณ์
จอมทะรักษ์ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และได้เลือกตั้ง
ส.อบต. คนใหม่แทนนายสมบูรณ์ จอมทะรักษ์
คือ นายบุญเที่ยง ยุบลวัฒน์
ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ส.อบต. ได้หมดวาระลงก็ได้มีการเลือกตั้ง ส.อบต. ใหม่ โดย นายสมยศ
ปองได้ เข้าไปอยู่ในฝ่ายบริหาร จึงมี
นายบุญเที่ยง ยุบลวัฒน์ และนายสุรชัย
สุภาเรียง ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.อบต. ในหมู่บ้าน
นายสมบูรณ์ จอมทะรักษ์
จึงได้เป็นผู้ใหญ่บ้านต่อมาจนถึงปัจจุบัน
มีถนนสายหลักสู่หมู่บ้าน
จากจังหวัดกาฬสินธุ์ถึงหมู่บ้าน (ถนนสายกาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) ระยะทาง ๒๓ กิโลเมตร
จากที่ว่าการอำเภอกมลาไสย ถึงหมู่บ้าน (แยกโพนงาม-ร่องคำ) ระยะทาง ๑๑ กิโลเมตร
[1]
ลำดับและรายชื่อเจ้าอาวาส
ตามที่ปรากฏในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ ๑๓ ของกองพุทธสถาน
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ฉบับพิมพ์ปี ๒๕๓๗, หน้า ๕๐, รายชื่อไม่ตรงตามความเป็นจริง, ดังนี้ ๑. พระโส ๒. พระสิงห์ จารุวณฺโณ ๓.พระบุญเกิด อาทิตวโร ๔. พระชารี
อนุตฺตโร ๕. พระเกศ สุจิตฺโต ๖. พระผาย
ปวโร ๗. พระสมศรี สุจิตฺโต ๘. พรแก้ว มหาปุญฺโญ ๙. พระประเสริฐ อคฺคธมฺโม
๑๐. พระบุญธรรม ปภสฺสโร ๑๑. พระสมุห์ปราณี
สมาจาโร
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ, ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร,เล่มที่
๑๓, พิมพ์ครั้งที่ ๑ ,กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา,
๒๕๓๗.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น