วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ติโรกุฑฑสูตร ว่าด้วยเปรตของพระเจ้าพิมพิสาร



 
ติโรกุฑฑสูตร ว่าด้วยเปรตของพระเจ้าพิมพิสาร หรือเปรตที่อยู่ภายนอกฝาเรือน

พระสูตรนี้กล่าวถึงเรื่องราวของพวกเปรต หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว คำว่า เปตา แปลว่า ผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือแปลให้เข้าใจง่ายก็คือ ผู้ที่ตายไปแล้ว ในที่นี้หมายเอาผู้ที่ไปเกิดในภพของเปรตหรือเปตวิสัย สัตว์จำพวกนี้จะถูกส่งกลับมาหาญาติปีละครั้งเพื่อรับทักษิณาหรือส่วนบุญจากญาติของตน  ถ้าเปรตตนไหนยังพอมีบุญอยู่บ้าง
  พวกญาติก็จะระลึกถึงแล้วก็จะจัดข้าวปลาอาหารและของควรเคี้ยวที่ญาติชอบไว้รอพวกญาติของตนด้วยการนำไปถวายพระสงฆ์แล้วอุทิศส่วนบุญให้ พวกเปรตเหล่านั้น 
เมื่อได้ส่วนบุญแล้วก็จะพากันให้พรแก่ญาติของตนตามอัธยาศัย เช่น ให้พรว่า ขอให้ญาติของจึงเจริญรุ่งเรือง บวงพวกก็จะคอยมาดูแลรักษาญาติของตนให้รอดพ้นจากอันตรายทั้งหลาย บางพวกบุญน้อยหรือมีกรรมเก่ายังหนักอยู่กลับมาแล้วญาติไม่ระลึกถึง จึงไม่ได้จัดไว้ พวกเปรตเหล่านั้นจะเสียใจร้องไห้กลับไป
ที่ พระพุทธองค์ตรัสพระสูตรนี้เพราะสืบเนื่องมาจากเปรตที่เคยเป็นญาติของพระเจ้า พิมพิสาร พระราชาแห่งแคว้นมคธ มาเข้าปรากฏให้เห็นในความฝันด้วยรูปร่างผอมดำและเปลือยกาย  พระองค์จึงทำบุญอุทิศไปให้ พวกเปรตเหล่านั้นจึงพ้นจากสภาพนั้นกลายเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ผิวพรรณ ผ่องใส สวมใส่เสื้อผ้างดงาม
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ที่ภพของพวกเปรตนั้นไม่มีการทำไร่ไถนา ไม่มีการเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ไม่มีการค้าขายด้วยเงินและทองเหมือนในโลกมนุษย์พวกเปรตเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ได้ด้วยทานที่พวกญาติอุทิศไปให้
อาจจะมีคำถามว่า แล้วทานที่พวกญาติอุทิศไปให้แต่โลกนี้จะถึงพวกญาติเหล่านั้นหรือ พระองค์ยืนยันว่า ถึง  ทรงอุปมาให้ฟังว่า เปรียบเหมือนน้ำฝนที่ตกลงที่ ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานที่ทายกถวายแต่โลกนี้ย่อมสำเร็จแก่ญาติผู้ที่ล่วงลับไป ฉันนั้น และเปรียบเหมือนห้วงน้ำที่เต็มด้วยน้ำ ย่อมทำให้มหาสมุทรเต็มได้ฉันใด ทานที่ญาติถวายแล้วแต่โลกนี้ย่อมสำเร็จแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วฉันนั้น
พระ สูตรนี้พระสงฆ์นำมาเป็นบทอนุโมทนาเวลาญาติโยมทำบุญอุทิศแก่ญาติผู้เสีย ชีวิต  แต่ในประเทศไทย นำมาเฉพาะส่วนสุดท้วย คือ เริ่มตั้งแต่ อะทาสิ เม อะกาสิ เม เป็นต้นไป  
พระสูตรนี้อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 

. ติโรกุฑฑสูตร๑
ว่าด้วยเรื่องเปรตที่อยู่ภายนอกฝาเรือน
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้ เพื่ออนุโมทนาพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ        ดังนี้)
          []               พวกเปรตพากันมาสู่เรือนของตน๓ 
          บ้างยืนอยู่ที่ฝาเรือนด้านนอก
          บ้างยืนอยู่ที่ทางสี่แพร่ง สามแพร่ง
          บ้างยืนพิงอยู่ที่บานประตู
          []               เมื่อมีข้าวและน้ำดื่มมากมาย
          เมื่อของเคี้ยวของกินถูกจัดเตรียมไว้แล้ว
          ญาติสักคนก็ไม่นึกถึงเปรตเหล่านั้น
          เพราะกรรมของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย
          []               เหล่าชนผู้อนุเคราะห์ ย่อมถวายอาหารและน้ำดื่ม
          ที่สะอาดประณีต เหมาะแก่พระสงฆ์ตามกาล
          อุทิศให้ญาติทั้งหลาย(ที่เกิดเป็นเปรต)อย่างนี้ว่า
          ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของเรา
          ขอญาติทั้งหลาย จงเป็นสุขเถิด
          []               ส่วนญาติที่เกิดเป็นเปรตเหล่านั้น
          พากันมาประชุมพร้อมกัน ณ ที่ให้ทานนั้น
          ย่อมอนุโมทนาในอาหารและน้ำดื่มเป็นอันมากโดยเคารพว่า
          []               เพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใด พวกเราจึงได้สุขสมบัติเช่นนี้
          ขอญาติเหล่านั้นของพวกเราจงมีอายุยืน
          อนึ่ง  การบูชา  ญาติผู้เป็นทายกก็ได้ทำแก่พวกเราแล้ว
          และทายกก็ไม่ไร้ผล
          []               ในเปตวิสัย๑นั้น ไม่มีกสิกรรม (การทำไร่ไถนา)
          ไม่มีโครักขกรรม (การเลี้ยงวัวไว้ขาย)
          ไม่มีพาณิชกรรม (การค้าขาย) เช่นนั้น
          การแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี
          ผู้ที่ตายไปเกิดเป็นเปรตในเปตวิสัยนั้น
          ดำรงชีพด้วยผลทานที่พวกญาติอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้
          []               น้ำฝนที่ตกลงมาในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม  ฉันใด
          ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้
          ย่อมสำเร็จผลแน่นอนแก่พวกเปรต  ฉันนั้นเหมือนกัน
          []               ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยม  ฉันใด
          ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้
          ย่อมสำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย  ฉันนั้นเหมือนกัน
          []               กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการะ
          ที่ญาติผู้ละไปแล้ว(เปรต)เคยทำไว้ในกาลก่อนว่า
          ผู้นั้นได้ให้สิ่งนี้แก่เรา  ได้ทำสิ่งนี้แก่เรา
          ได้เป็นญาติ  มิตร  และสหายของเราž
          ก็ควรถวายทักษิณาทานอุทิศให้แก่ญาติผู้ละไปแล้ว
          [๑๐]             การร้องไห้  ความเศร้าโศก
          หรือความร่ำไห้คร่ำครวญอย่างอื่นใด
          ใคร ๆ ไม่ควรทำเลย  เพราะการร้องไห้  เป็นต้นนั้น
          ไม่เป็นประโยชน์แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
          ญาติทั้งหลายก็ยังคงสภาพอยู่อย่างนั้น
          [๑๑]             ส่วนทักษิณาทานนี้แล  ที่ตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์
          ย่อมสำเร็จประโยชน์เกื้อกูลสิ้นกาลนาน
          แก่หมู่ญาติที่เกิดเป็นเปรตนั้น  โดยพลันทีเดียว
          [๑๒]             ญาติธรรม๑นี้นั้น  ท่านแสดงออกแล้ว
          การบูชาญาติที่ตายไปเป็นเปรต ท่านทำอย่างยิ่งใหญ่แล้ว
          ทั้งกำลังกายของภิกษุ ท่านก็เพิ่มให้แล้ว
          เป็นอันว่าท่านสั่งสมบุญไว้มิใช่น้อยเลย

ติโรกุฑฑสูตร จบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น